ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การทำงานของระบบทำความเย็นและปรับอากาศ

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

เครื่องทำความเย็นทั่วไปจะออกแบบให้สามารถนำสารทำความเย็นที่ระเหยเป็นแก๊สกลับมาใช้หมุนเวียนได้อีก โดยการใช้คอมเพรสเซอร์ (Compressor) เป็นตัวอัดสารทำความเย็นที่เป็นแก๊ส แล้วนำมาระบายความร้อนให้เกิดการกลั่นตัว เป็นของเหลวอีกครั้งที่คอนเดนเซอร์ (Condenser) และส่งกลับสู่ถังบรรจุสารทำความเย็นใหม่

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างและการทำงานของตู้เย็น

แก๊สที่ออกจากคอยล์เย็น (Evaporator) จะเป็นแก๊สความดันต่ำ คอมเพรสเซอร์ (Compressor) จะอัดให้มีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้นแล้วส่งเข้าสู่ตัวควบแน่น (Condenser) หรือเรียกกันว่า คอยล์ร้อน ทำหน้าที่ระบายความร้อนของแก๊ส ทำให้แก๊สเกิดการควบแน่นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวที่มีความดันสูง และกลับเข้าสู่ถังพักสารทำความเย็น จากนั้นสารทำความเย็นจะไหลเข้าสู่คอยล์เย็นโดยผ่านตัวควบคุม หรือวาล์วทำหน้าที่ลดความดันสารทำความเย็นก่อนเข้าสู่คอยล์เย็น คือ ท่อแคปปิลารี หรือท่อรูเข็มวาล์วตัวนี้จะควบคุมปริมาณการปล่อยสารทำความเย็นให้ระเหยหมดพอดีในคอยล์เย็น หลังจากนั้นสารทำความเย็นที่ระเหยหมดกลายเป็นแก๊สความดันต่ำอุณหภูมิต่ำ จะถูกคอมเพรสเซอร์ (Compressor) อัดให้มีความดันและอุณหภูมิสูงขึ้นอีกครั้งวนเป็นวัฏจักรเครื่องปรับอากาศมีพื้นฐานการทำงานเหมือนเครื่องทำความเย็นโดยบริเวณคอยล์เย็นจะติดตั้งพัดลมเพื่อเป่าอากาศ อุปกรณ์ชุดดังกล่าวเรียกว่า Fan coil อากาศที่ผ่านจากคอลย์เย็นจะมีอุณหภูมิและความชื้นต่ำ

รูปที่ 2 แสดงการปรับอากาศภายในห้อง

ทีมา : เอกสารเทคนิคการประหยัดพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ความคิดเห็น