การเดินสายร้อยท่อ
วัตถุประสงค์
เพื่อปกปิดและป้องกันสายและวงจร
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อม
เช่นสารเคมี แก๊สไวไฟ ความชื้นและแรงกระแทก
เป็นต้น
ชนิดของท่อ
1. ท่อโลหะหนา ( Rigid Metal
Conduit ) R.M.C
2. ท่อโลหะหนาปานกลาง ( Intermediate Metal Conduit ) I.M.C
3. ท่อโลหะบาง ( Electrical Metallic
Tubing ) E.M.T
4. ท่อโลหะอ่อน ( Flexible Metallic
Conduit )
5. ท่ออโลหะแข็ง ( Rigid Nonmetallic Conduit )
การใช้งาน
ท่อโลหะหนา
ท่อโลหะหนาปานกลาง และท่อโลหะบาง
เป็นท่อเหล็กอาบสังกะสีเหมือนกัน
แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ความหนาของผนังท่อเพื่อให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน
ท่อชนิดโลหะหนาเป็นท่อที่มีความมากที่สุดทั้งท่อโลหะหนาและท่อโลหะหนาปานกลางเป็นท่อทำเกลียวได้ทั้งคู่ และมีลักษณะการใช้งานที่สามารถทดแทนกันได้ ข้อกำหนดการใช้งานและการติดตั้งท่อทั้งสามชนิดมีดังนี้
ขนาด ขนาดของท่อที่ผลิตใช้งานและเป็นไปตามข้อกำหนดของการไฟฟ้า
ฯ เป็นดังนี้
ขนาดเล็กสุด
ท่อต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เล็กกว่า
12 มม. ( ½ นิ้ว )
ขนาดใหญ่สุด ท่อโลหะบาง และท่อโลหะหนาปานกลาง ต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุดไม่เกิน 100
มม. ( 4 นิ้ว)
ถ้าเป็นท่อโลหะหนาต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุด ไม่เกิน 150 มม.
( 6 นิ้ว )
จำนวนสายไฟฟ้า จำนวนสายไฟฟ้าในท่อร้อยสายไฟฟ้าต้องไม่เกินที่กำหนดไว้ ตามตารางที่ 3.7
พื้นที่หน้าตัดตัวนำ ไม่เกิน
10 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่หน้าตัดท่อ
พื้นที่หน้าตัดตัวนำรวมฉนวนห่อหุ้ม ไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่หน้าตัดท่อ
ตาราง 3.7
พื้นที่หน้าตัดรวมของสายไฟทุกเส้นคิดเป็นร้อยละเทียบกับพื้นที่หน้าตัดของท่อ
จำนวนสายในท่อร้อยสาย
|
1
|
2
|
3
|
4
|
มากกว่า 4
|
สายไฟทุกชนิดยกเว้นสายชนิดที่มีปลอกตะกั่วหุ้ม
|
53
|
31
|
40
|
40
|
40
|
สายไฟชนิดมีปลอกตะกั่วหุ้ม
|
55
|
30
|
40
|
38
|
35
|
ขนาดกระแส ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าใช้ตารางที่ 1.5
หรือตารางที่ 1.7
ตารางที่
1.5
ขนาดของกระแสไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซี
ตาม มอก.11-2531 อุณหภูมิตัวนำ 70
องศาเซลเซียส ขนาดแรงดัน 300 หรือ
750 โวลต์ อุณหภูมิโดยรอบ 40
องศาเซลเซียสสำหรับวิธีการเดินสาย ก-ค และ 30
องศาเซลเซียสสำหรับวิธีการเดินสาย ง และ จ
ขนาดสาย
(ตร.มม.)
|
ขนาดกระแส (แอมแปร์)
|
|||||||||||||||
วิธีการเดินสาย (หมายเหตุ 1)
|
||||||||||||||||
|
|
|
|
|
||||||||||||
ก
|
ข
|
ค
|
ง
|
จ
|
||||||||||||
ท่อโลหะ
|
ท่ออโลหะ
|
ท่อโลหะ
|
ท่ออโลหะ
|
|||||||||||||
0.5
|
9
|
8
|
8
|
8
|
10
|
9
|
-
|
|||||||||
1
|
14
|
11
|
11
|
11
|
15
|
13
|
21
|
|||||||||
1.5
|
17
|
15
|
14
|
14
|
18
|
16
|
26
|
|||||||||
2.5
|
23
|
20
|
18
|
18
|
24
|
21
|
34
|
|||||||||
4
|
31
|
27
|
24
|
24
|
32
|
28
|
45
|
|||||||||
6
|
42
|
35
|
31
|
31
|
42
|
36
|
56
|
|||||||||
10
|
60
|
50
|
43
|
43
|
58
|
50
|
75
|
|||||||||
16
|
81
|
66
|
56
|
56
|
77
|
65
|
97
|
|||||||||
25
|
111
|
89
|
77
|
77
|
103
|
87
|
125
|
|||||||||
35
|
137
|
110
|
95
|
91
|
126
|
105
|
150
|
|||||||||
50
|
169
|
-
|
119
|
114
|
156
|
129
|
177
|
|||||||||
70
|
217
|
-
|
148
|
141
|
195
|
160
|
216
|
|||||||||
95
|
271
|
-
|
187
|
180
|
242
|
200
|
259
|
|||||||||
120
|
316
|
-
|
214
|
205
|
279
|
228
|
294
|
|||||||||
150
|
364
|
-
|
251
|
236
|
322
|
259
|
330
|
|||||||||
185
|
424
|
-
|
287
|
269
|
270
|
296
|
372
|
|||||||||
240
|
509
|
-
|
344
|
329
|
440
|
352
|
431
|
|||||||||
300
|
592
|
-
|
400
|
373
|
508
|
400
|
487
|
|||||||||
400
|
696
|
-
|
474
|
416
|
599
|
455
|
552
|
|||||||||
500
|
818
|
-
|
541
|
469
|
684
|
516
|
623
|
D = เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของสายไฟฟ้า
ตารางที่ 1.7
ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าทองแดงหุ้มฉนวนครอสลิงค์โพลีเอสทีลีน อุณหภูมิ
90 องศาเซลเซียส
ขนาดแรงดัน 600 โวล์ท อุณหภูมิโดยรอบ 40
องศาเซลเซียสสำหรับเดินการสายในอากาศ
และ 30
องศาเซลเซียสสำหรับเดินสายใต้ดิน
ขนาดสาย
( ตร.มม. )
|
ขนาดกระแส ( แอมแปร์ )
|
||||
วิธีการเดินสาย
|
|||||
ก
สายแกนเดียว
เดินในอากาศ
|
ข
สายแกนเดียว3 เส้น
เดินในท่อโลหะในอากาศ
|
ค
สายแกนเดียว 3 เส้น
เดินในท่อฝังดิน
|
ง
สายแกนเดียวไม่เกิน
3 เส้น หรือหลาย
แกนฝังดินโดยตรง
|
||
ท่อโลหะ
|
ท่ออโลหะ
|
||||
2.5
|
36
|
25
|
31
|
28
|
44
|
4
|
47
|
33
|
41
|
36
|
57
|
6
|
60
|
42
|
52
|
46
|
71
|
10
|
82
|
56
|
70
|
61
|
94
|
16
|
110
|
76
|
93
|
81
|
122
|
25
|
148
|
100
|
123
|
107
|
156
|
35
|
184
|
123
|
151
|
130
|
187
|
50
|
224
|
153
|
184
|
156
|
221
|
70
|
286
|
191
|
230
|
197
|
270
|
95
|
356
|
239
|
285
|
241
|
325
|
120
|
417
|
275
|
329
|
277
|
368
|
150
|
481
|
322
|
380
|
318
|
413
|
185
|
559
|
368
|
436
|
363
|
466
|
240
|
627
|
440
|
518
|
430
|
539
|
300
|
782
|
510
|
615
|
501
|
607
|
40
|
921
|
604
|
734
|
586
|
687
|
500
|
1,080
|
686
|
855
|
685
|
773
|
การติดตั้ง ข้อกำหนดการติดตั้งเป็นดังนี้
ในสถานที่เปียก ท่อโลหะและส่วนประกอบที่ใช้ยึดท่อโลหะ เช่น
โบลต์ สกรู ฯลฯ ต้องเป็นชนิดที่ทนต่อการผุกร่อนได้
|
เมื่อทำการตัดท่อ
ต้องลบคมท่อเพื่อป้องกันไม่ให้บาดฉนวนของสาย ในการทำเกลียวท่อต้องใช้เครื่องทำเกลียวชนิดปลายเรียว
เกลียวชนิดนี้เมื่อหมุนข้อต่อเข้าไปจะแน่นขึ้นเรื่อย ๆ
ซึ่งจะเป็นผลให้มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าที่ดี
การต่อท่อในอิฐก่อหรือคอนกรีตหากใช้ข้อต่อชนิดไม่มีเกลียวต้องใช้ชนิดฝังในคอนกรีต
( Concretetight ) เมื่อติดตั้งในที่เปียกต้องใช้ชนิดกันฝน
|
|
|
การติดตั้งท่อร้อยสายเข้ากับกล่องต่อสาย
การต่อสาย ให้ต่อได้เฉพาะในกล่องต่อสาย หรือกล่องต่อจุดไฟฟ้าที่สามารถเปิดออกได้สะดวก
ปริมาณของสายและฉนวนรวมทั้งหัวต่อสายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 75 % ของปริมาตรภายในกล่องต่อสาย หรือกล่องต่อจุดไฟฟ้า
การติดตั้งท่อร้อยสายเข้ากับกล่องต่อสายหรือเครื่องประกอบการเดินท่อ การเดินท่อต้องมีบุชชิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้ฉนวนหุ้มสายชำรุด
นอกเสียจากว่ากล่องต่อสายหรือเครื่องประกอบการเดินท่อได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของฉนวนไว้แล้ว
ท่อโลหะบางห้ามทำเกลียว เพราะการทำเกลียวจะทำให้ท่อขาดได้
มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360
องศา เพราะอาจดึงสายไม่เข้าหรือดึงเข้าไปได้ก็จะดึงสายออกมาไม่ได้
เป็นผลให้การบำรุงรักษารักษาทำได้ยากหรือทำไม่ได้
ห้ามใช้ท่อโลหะบางฝังดินโดยตรง
หรือใช้ระบบไฟฟ้าแรงสูง
หรือที่ซึ่งอาจเกิดความเสียหายหลังการติดตั้งได้
ตารางที่ 3.8 ตารางแสดงพื้นที่ตัดขวางภายในท่อร้อยสายไฟฟ้า ( สายที่ผลิตตาม มอก. 11 –
2531 )
ขนาดท่อ ( มม. )
|
พื้นที่ตัดขวางภายใน
( ตร.มม. )
|
||
ชนิดของท่อ
|
|||
ท่อโลหะบาง
|
ท่อโลหะหนาปานกลาง
|
ท่อโลหะหนา
|
|
15
|
195
|
230
|
201
|
20
|
343
|
390
|
355
|
25
|
555
|
637
|
527
|
32
|
967
|
1,091
|
986
|
40
|
1,313
|
1,467
|
1,338
|
50
|
2,164
|
2,382
|
2,196
|
65
|
3,776
|
3,367
|
3,137
|
80
|
5,706
|
5,175
|
4,837
|
90
|
7,447
|
6,907
|
6,458
|
100
|
9,520
|
8,871
|
8,309
|
125
|
-
|
-
|
13,041
|
150
|
-
|
-
|
18,786
|
ตารางที่
3.9
ตารางแสดงพื้นที่ตัดขวางรวมฉนวนของสายฟ้า ( สายที่ผลิตตาม มอก.
11 – 2531 )
ขนาดสาย
( ตร.มม )
|
พื้นที่ภาคตัดขวางรวมฉนวนและเปลือก
( ตร.มม. )
|
|||||
ชนิดของสายไฟฟ้า
|
||||||
THW
(T4 )
|
NYY1 – C
(T6 )
|
NYY2- C
(T7 )
|
NYY3 – C
(T7 )
|
NYY4 –C
(T7 )
|
NYY – N
(T8 )
|
|
0.5
|
7.1
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
1.0
|
8.1
|
58.1
|
113
|
123
|
143
|
-
|
1.5
|
10.2
|
63.6
|
123
|
133
|
154
|
-
|
2.5
|
12.6
|
75.4
|
154
|
177
|
201
|
-
|
4
|
18.1
|
86.6
|
189
|
214
|
241
|
-
|
6
|
26.4
|
95
|
227
|
255
|
284
|
284
|
10
|
40.7
|
113
|
299
|
330
|
415
|
415
|
16
|
55.4
|
133
|
398
|
471
|
552
|
552
|
25
|
86.6
|
165
|
573
|
638
|
755
|
755
|
35
|
104
|
201
|
684
|
779
|
962
|
962
|
50
|
143
|
227
|
882
|
1,018
|
1,225
|
1,225
|
70
|
189
|
284
|
1,134
|
1,288
|
1,555
|
1,555
|
95
|
254
|
363
|
1,419
|
1,662
|
2,083
|
2,083
|
120
|
299
|
416
|
1,698
|
2,003
|
2,463
|
2,463
|
150
|
363
|
531
|
2,124
|
2,463
|
3,019
|
3,019
|
185
|
452
|
616
|
2,552
|
2,970
|
3,632
|
3,632
|
240
|
573
|
779
|
3,217
|
3,739
|
4,569
|
4,569
|
300
|
707
|
962
|
4,536
|
4,536
|
5,675
|
5,675
|
400
|
881
|
1,164
|
-
|
-
|
-
|
|
500
|
1,134
|
1,452
|
-
|
-
|
-
|
|
ตัวอย่าง
วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยสายไฟฟ้าตาม
มอก. 11 – 2531 ตารางที่ 4 ( T4 ) ขนาด 25
ตร.มม จำนวน 4 เส้น สายขนาด
35 ตร.มม. และ 16
ตร.มม.อย่างละ 1 เส้น ร้อยอยู่ในท่อโลหะบาง จงกำหนดขนาดท่อ
วิธีทำ
สายขนาด 25
ตร.มม. พื้นที่หน้าตัด = 86.6 ตร.มม.
สายขนาด 35
ตร.มม พื้นที่หน้าตัด = 104
ตร.มม
สายขนาด 16
ตร.มม พื้นที่หน้าตัด = 55.4
ตร.มม
รวมพื้นที่หน้าตัดสายทั้งหมด = ( 86.6 x 4
) + 104
+ 55.4
= 505.8 ตร.มม
จากตารางที่ 3.7
สายไฟฟ้าที่เดินในท่อโลหะต้องมีพื้นที่หน้าตัดรวมกันไม่เกิน 40 % ของพื้นที่ภาคตัดขวางภายในท่อ
ท่อร้อยสายต้องมีขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า =
= 1264.5 ตร.มม.
จากตารางที่
3.8 ได้ท่อโลหะบางขนาด 40
มม ( 1,313
ตร.มม. )
ท่อโลหะอ่อน ( Flexible
Metallic Conduit )
|
ท่อโลหะอ่อน
ปกตินิยมเดินเข้าเครื่องจักรหรือโคมไฟฟ้าเนื่องจากสามารถโค้งงอได้สะดวกตมความต้องการใช้งาน
และยังใช้งานได้ดีกับเครื่องจักรที่มีอาการสั่นสะเทือน จึงนิยมใช้งานในช่วงความยาวสั้น ๆ ตรงจุดที่ต่อท่อเข้าเครื่องจักร แต่เนื่องจากเป็นท่อที่ไม่กันน้ำในการใช้งานจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยเป็นสำคัญ มีข้อกำหนดที่สำคัญดังต่อไปนี้
การใช้งาน
ท่อชนิดนี้ให้ใช้ในสถานที่แห้งและเข้าถึงได้
และเพื่อป้องกันสายจากความเสียหายทางกายภาพ หรือเพื่อการเดินซ่อนสาย
ห้ามใช้ ท่อโลหะอ่อนห้ามใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
1.
ในปล่องลิฟต์หรือปล่องขนของ
2.
ในห้องแบตเตอรี่ เพราะอาจผุกร่อนได้เนื่องจากไอกรด
3.
ในสถานที่อันตราย นอกจากระบุไว้เป็นอย่างอื่น
4.
ฝังดิน
หรือฝังในคอนกรีต
5.
ในสถานที่เปียก
นอกจากจะใช้สายไฟชนิดที่เหมาะสมกับสภาพการติดตั้ง
และในการติดตั้งท่อโลหะอ่อนต้องป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในช่องเดินสายที่ท่อโลหะอ่อนนี้ตั้งอยู่
6.
ท่อโลหะอ่อนที่มีขนาดเล็กกว่า 12 มม.
ยกเว้นท่อโลหะอ่อนที่ประกอบติดมากับกับขั้วหลอดไฟฟ้าและมีความยาวไม่เกิน 1.80
ม.
จำนวนสายไฟฟ้า
จำนวนสายไฟฟ้าในท่อโลหะอ่อนต้องไม่เกินกว่าตามที่กำหนดไว้ใน ตารางที่
3.7
การติดตั้ง มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันต้องไม่เกิน 360 องศา
และระยะห่างระหว่างอุปกรณ์จับยึดต้องไม่เกิน 1.50 ม.
และห่างจากกล่องต่อสายหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่เกิน 0.30 ม.
ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว ( Liquidtight
Flexible Metal Conduit )
|
ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว
ท่อโลหะอ่อนกันของเหลว
ต่างจากท่อโลหะอ่อนทั่วไปตรงที่ท่อห่อหุ้มด้วยสารพีวีซี หรือ พีอี
อีกชั้นหนึ่งเพื่อกันของเหลวหรือน้ำ
แต่เนื่องจากสารที่หุ้มนี้จะมีอุณหภูมิใช้งานอยู่ค่าหนึ่ง
ในการใช้งานจึงต้องระวังไม่ให้อุณหภูมิโดยรอบ
หรืออุณหภูมิใช้งานของสายไฟฟ้าสูงเกินอุณหภูมิใช้งานของท่อ เช่นท่อที่มีอุณหภูมิ 70๐ c
จะนำไปใช้ร้อยสายไฟฟ้าชนิดซีวีที่มีอุณหภูมิใช้งาน 90๐ c ไม่ได้แต่ถ้าจะใช้ก็ต้องลดขนาดกระแสลงมาให้อุณหภูมิที่สายไม่เกิน 70
๐ c
การใช้งาน ท่อชนิดนี้ใช้ในที่ซึ่งสภาพการติดตั้ง
การใช้งานและบำรุงรักษาต้องการความอ่อนตัวของท่อหรือเพื่อป้องกันของแข็ง ของเหลว หรือไอ หรือในสถานที่อันตราย
ห้ามใช้ ท่อโลหะอ่อนกันของเหลวห้ามใช้ในที่ซึ่งอาจได้รับความเสียหายทางกายภาพ
และที่ซึ่งอุณหภูมิของสายและอุณหภูมิโดยรอบสูงเกินจนทำให้ท่อเสียหาย
ในข้อนี้สายไฟฟ้าที่ใช้ต้องมีอุณหภูมิใช้งานไม่เกินอุณหภูมิของท่อที่ทนได้
ขนาด ท่อที่ยอมให้ใช้ได้ต้องมีขนาดไม่เล็กกว่า 12 มม.
หรือใหญ่กว่า 102 มม.
จำนวนสายไฟฟ้า
จำนวนสายไฟฟ้าในท่อต้องไม่เกินตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 3.7
การติดตั้ง
มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360 องศา
และต้องติดตั้งระบบท่อให้เสร็จก่อนจึงทำการเดินสายไฟ
ท่ออโลหะแข็ง
( Rigid
Nonmetallic Conduit )
ที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปได้แก่ท่อ พีวีซี และท่อพีอี ท่อพีวีซีมีคุณสมบัติในการต้านเปลวเพลิง
แต่มีข้อเสียที่เมื่อไฟไหม้จะมีก๊าซที่เป็นพิษต่อบุคคลออกมาด้วยและไม่ทนต่อแสงอุลตราไวโอเลตทำให้กรอบเมื่อถูกแดดนาน
ๆ สำหรับท่อพีอีเป็นท่อที่ไฟลุกลามได้แต่คงทนต่อแสงอุลตราไวโอเลตจึงเหมาะที่จะใช้ภายนอกอาคารการใช้งานภายในอาคารจึงต้องฝังอยู่ในคอนกรีตหรือฝังดิน
ท่ออโลหะและเครื่องประกอบการเดินท่อต้องใช้วัสดุที่เหมาะสม ทนต่อความชื้น
สภาวะอากาศและสารเคมี
ทนต่อแรงกระแทกและแรงอัด
ไม่บิดเบี้ยวเพราะความร้อนภายใต้สภาวะที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน ในสถานที่ใช้งาน
ซึ่งท่อมีโอกาสถูกแสงแดดโดยตรงต้องใช้ท่อชนิดทนแสงแดดได้ ท่อที่ใช้เหนือดินต้องมีคุณสมบัติต้านเปลวเพลิง ท่อที่ใช้ใต้ดินวัสดุที่ใช้ต้องทนความชื้น
ทนสารที่ทำให้ผุกร่อนและมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะทนแรงกระแทกได้โดยไม่เสียหาย ถ้าใช้ฝังดินโดยตรงไม่มีคอนกรีตหุ้มวัสดุที่ใช้ต้องสามารถทนน้ำหนักกดที่อาจเกิดขึ้นภายลังการติดตั้งได้
การใช้งาน ท่ออโลหะแข็งมีข้อกำหนดการใช้งานดังนี้
1. เดินซ่อนในผนัง พื้นและเพดาน
2. ในบริเวณที่ทำให้เกิดการผุกร่อนและมีสารเคมีถ้าท่อและเครื่องประกอบการเดินท่อได้ออกแบบไว้สำหรับใช้งานในสภาพดังกล่าว
3.
ในที่เปียกหรือชื้นซึ่งได้จัดให้มีการป้องกันน้ำเข้าไปในท่อ
4. ในที่โล่ง ( Exposed ) ซึ่งไม่อาจเกิดความเสียหายทางกายภาพ
5.
การติดตั้งใต้ดินควรดูข้อกำหนดในเรื่องการติดใต้ดินประกอบ
ห้ามใช้ ท่ออโลหะแข็งห้ามใช้ในกรณีต่อไปนี้
1.
ในสถานที่อันตราย นอกจากจะระบุไว้เป็นอย่าอื่น
2.
ใช้เป็นเครื่องแขวนและจับยึดดวงโคม
3.
อุณหภูมิโดยรอบหรืออุณหภูมิใช้งานของสายเกินกว่าอุณหภูมิของท่อที่ระบุไว้
4.
ท่ออโลหะแข็งที่มีขนาดเล็กกว่า 12 มม.
จำนวนสายไฟฟ้า จำนวนสายไฟฟ้าในท่อต้องไม่เกินตามที่กำหนดในตารางที่ 3.7
การติดตั้ง
มุมดัดโค้งระหว่างจุดดึงสายรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360
องศา
เมื่อเดินท่อเข้ากล่องหรือส่วน
ประกอบอื่น
ๆ ต้องจัดให้มีบุชชิ่ง
หรือป้องกันไม่ให้ฉนวนของสายชำรุด
ความคิดเห็น