จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
ที่มา : http://www.npc-se.co.th/knowledge_center/npc_knowledge_detail.asp?id_head=4&id_sub=19&id=237
โรคผิวหนังเป็นปัญหาสำคัญ
และเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับสี่ของประเทศ
เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย
หากมีการดูแลการใช้ไม่เหมาะสมจะทำให้ผู้ที่สัมผัสเกิดอาการระคายเคืองและภูมิแพ้ที่ผิวหนัง
อาการลักษณะนี้มักเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้เกิดปัญหาด้านร่างกายและจิตใจของผู้ที่เป็นโรค
การรักษาโรคผิวหนังนั้นมักจะทำได้โดยการบรรเทาอาการ และที่สำคัญคือ
ต้องกำจัดสาเหตุ และสภาพที่อาจทำให้เกิดอาการของโรคผิวหนัง
สาเหตุการเกิดโรคผิวหนังจากการทำงาน
การเกิดโรคผิวหนังจากการทำงาน มีสาเหตุหลัก ดังนี้
1. สาเหตุจากสารเคมี
2. สาเหตุจากการสัมผัส การเสียดสีและการกระแทก
3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
4. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
1. สาเหตุจากสารเคมี
ในอุตสาหกรรมมีการนำสารเคมีมาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าต่างๆ
จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้ประมาณว่ามีการใช้สารเคมีมากกว่า 100,000 ชนิด
ในอุตสาหกรรมและในจำนวนนี้มีสารเคมีมากกว่า 16,500 ชนิดที่เป็นพิษและสามารถก่อให้เกิดอาการทางผิวหนัง
รวมทั้งระบบต่างๆ ของร่างกายด้วย เช่น ระบบประสาท ระบบโลหิตและระบบภูมิแพ้
โรคผิวหนังจากสารเคมีทำให้เกิดภูมิแพ้ที่รู้จักกันมานานในประเทศอุตสาหกรรม
เช่น คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยาง สีย้อมผ้า กาวพลาสติก
เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซินและน้ำมันเครื่อง การที่ผิวหนังสัมผัสกับน้ำมันโดยตรงและไม่มีเครื่องป้องกัน
จะทำให้ขุมขนอักเสบหรือเกิดผื่นคล้ายสิวบริเวณหน้า แขน ขาและบริเวณอื่นๆ
ที่สัมผัสได้ เช่น การใช้น้ำมันเบนซินล้างมือ
สารตะกั่วที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบนซินอาจซึมเข้าผิวหนัง
เกิดเป็นรอยคล้ำและทำให้เกิดโรคแพ้พิษตะกั่ว
ความคิดเห็น