ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โครงสร้างองค์การ แบบสูง และแบบกว้าง

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

โครงสร้างองค์การ แบบสูง และแบบกว้าง

            การออกแบบโครงสร้างองค์การ ( สมคิด บางโม, 2538) มีสิ่งหนึ่งที่ควรคำนึง คือ ความสูง และความกว้างของโครงสร้าง ถ้าโครงสร้างขององค์การมีการบังคับบัญชากันหลายชั้นหลายระดับ กระบวนการทำงานย่อมช้า แต่ถ้าโครงสร้างองค์การมีระดับการสั่งการน้อยกระบวนการทำงานย่อมรวดเร็วกว่า ช่วงของการควบคุม (span of control) หมายถึง จำนวนผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่ถูกควบคุมหรือสั่งการจากผู้บังคับบัญชาคนหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คุณวิสนี เป็นประธานบริษัท และมีคุณกำชัยเป็นรองประธานบริษัทเพียงคนเดียว แสดงว่าช่วงของการควบคุมของประธานคือมีเพียง 1 แต่ถ้าบริษัทนี้มีรองประธาน 3 คน แสดงว่าช่วงของการควบคุมของประธานมีเท่ากับ 3 เป็นต้น


ข้อดีของโครงสร้างแบบสูง

         1. การบริหารงานใกล้ชิด
         2. การควบคุมใกล้ชิด
         3. การติดต่อสื่อสารรวดเร็วระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง
         4. งานมีคุณภาพเพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ชำนาญการเฉพาะ


ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบสูง

        1. ค่าใช้สูงสำหรับหัวหน้าแต่ละระดับ
        2. มีระดับการจัดการมาก
        3. ระยะทางระหว่างระดับสูงถึงระดับต่ำห่างเกินไป
        4. หัวหน้ามีแนวโน้มที่จะเกี่ยวข้องกับการทำงาน ของลูกน้องมากเกินไป



ข้อดีของโครงสร้างแบบกว้าง

         1. ลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร
         2. ลูกน้องมีอิสระสูงในการทำงาน เนื่องจากหัวหน้ามีผู้ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากจึงมีการควบคุมน้อย

ข้อจำกัดของโครงสร้างแบบกว้าง

        1.ต้องการผู้บังคับบัญชาที่มีความสามารถมาก
       2.ผู้บังคับบัญชาอาจจะควบคุมงานทุกอย่างได้ไม่ทั่วถึง

ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/organization/07.html

ความคิดเห็น