ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้


                    ระบบส่งจ่ายไฟฟ้า จะเริ่มจากโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นโรงต้นกำลังไฟฟ้าที่ใช้พลังงานต่างๆ ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น พลังงานน้ำ พลังงานก๊าซธรรมชาติ พลังงานถ่านหินเป็นต้น ในการหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้ในระบบจะสามารถผลิตแรงดันไฟฟ้าได้ ประมาณ 20.000 - 50,000 โวลต์

                   ดังนั้นก่อนจะทำการส่งผ่านสายส่งจากแหล่งผลิตซึ่งอยู่ห่างไกลจากชุมชนมากๆ จะต้องส่งเข้าหม้อแปลงไฟฟ้า แปลงแรงดันให้สูงขึ้นอีก เพื่อเป็นการลดการสูญเสียภายในสายส่ง ตามขนาดของระบบ เช่น 115 kV, 230 kV, 500 kV และจัดส่งไปตามสายส่งผ่านสถานที่ต่างๆ มายังแหล่งชุมชนของผู้ใช้ไฟฟ้า

                 ก่อนที่จะแจกจ่ายให้กับชุมชน ก็จะทำการแปลงแรงดันลงมาให้เหลือเท่ากับตอนที่ผลิตได้ หรืออยู่ในระดับที่จะเกิดความปลอดภัยกับการส่งจ่ายเข้าไปยังเขตชุมชน ณ สถานีไฟฟ้าย่อย (Substation Electrical) บริเวณชานเมือง โดยการแปลงแรงดันลงมาให้เหลือ 22 kV, 33 kV, 69 kV  ตามระบบการส่งจ่ายแต่ละพื้นที่

               เมื่อระบบส่งจ่ายไฟแรงสูงมาถึงบริเวณชุมชน ก็จะทำการแปลงแรงดันลงอีกครั้ง ให้เป็นระบบไฟฟ้าแรงต่ำ เพื่อจ่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท ซึ่งจะเป็นแรงดัน ขนาด 220 V สำหรับบ้านพักอาศัย และระบบ 380 V สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

การประหยัดพลังงานในระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
พลังงานไฟฟ้า จัดเป็นพลังงานแปรรูป (Secondary Energy) เนื่องจากไฟฟ้าไม่ใช่แหล่งพลังงาน หากแต่แปรรูปมาจากพลังงานต้นกำเนิด (Primary Energy) ได้แก่ น้ำ ลม แสงแดด เชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซ ไอน้ำใต้ดิน แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น เพื่อนำมาเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและส่งจ่ายไปยังผู้ใช้ผ่านระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า เนื่องจากการส่งจ่ายไฟฟ้าจะต้องมีการสูญเสียตามระยะทาง โดยระยะทางไกลจะมีการสูญเสียมากกว่าระยะทางใกล้ นอกจากนี้ยังมีการสูญเสียระหว่างการลดและการเพิ่มระดับแรงดันที่หม้อแปลงไฟฟ้าด้วยเช่นกัน ดังนั้นหากมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจะทำให้เกิดการประหยัดพลังงานได้

ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้ามีหลายองค์ประกอบ แสดงดังรูปที่ 1 ส่วนประกอบสำคัญของระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า สามารถแสดงรายละเอียดได้ดังนี้
สายส่งกำลังไฟฟ้า แบ่งออกเป็น
- สายส่งแรงดันสูง
- สายส่งแรงดันต่ำ ใช้ภายในอาคาร
หม้อแปลงไฟฟ้า
- รับไฟแรงสูงจากการไฟฟ้า แล้วแปลงเป็นไฟแรงต่ำเพื่อใช้ภายในอาคารหรือโรงงาน
ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า แบ่งเป็น
- ตู้ควบคุมหลัก (MDB: Main Distribution Board)
รับไฟจากหม้อแปลงไฟฟ้า ผ่านอุปกรณ์ตัดตอนอัตโนมัติและอุปกรณ์ควบคุมเพื่อจ่ายไปยังตู้ควบคุมย่อย
- ตู้ควบคุมย่อย (PB: Panel Board)
รับไฟจากตู้ควบคุมหลักผ่านอุปกรณ์ตัดต่ออัตโนมัติและอุปกรณ์ควบคุมเพื่อจ่ายไปยังโหลด

รูปที่ 1 แสดงผังการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าในโรงงาน


ความคิดเห็น