ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
  
เบรกเกอร์ ELCB เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกผลิตขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์หลักสำหรับนำมาใช้ป้องกันไฟดูดหรือไฟรั่ว
           ซึ่งเบรกเกอร์ ELCB มีชื่อเต็มๆคือ Earth Leakage Circuit Breaker แต่ในบางครั้งชื่อย่อของเบรกเกอร์ ELCB ก็มักมีผู้คนบางส่วนเรียกเป็น “ELB” ก็มี รวมถึงชื่อภาษาไทยก็มักจะเรียกกันว่า “เบรกเกอร์กันดูด” 
           โดยหน้าตาของ เบรกเกอร์ ELCB จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกันกับเซฟตี้เบรกเกอร์ ที่เรานำมาใช้เป็นควบคุมเครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ ฯลฯซึ่งหน้าตาภายนอกโดยรวมถือว่าคล้ายกับเซฟตี้เบรกเกอร์มาก ต่างกันที่ ELCB จะมีปุ่มเล็กๆที่เรียกว่าปุ่ม TEST แต่เซฟตี้เบรกเกอร์นั้นไม่มีปุ่มTEST และหลักการทำงานและวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้งานก็แตกต่างกันด้วย


หน้าตาของ ELCB และเซฟตี้เบรกเกอร์


ELCB ยี่ห้อ Haco




เซฟตี้เบรกเกอร์ ยี่ห้อ Panasonic




            เบรกเกอร์ ELCB มีหน้าที่คือ ตัดหรือปลดวงจรไฟฟ้าลงอัตโนมัติเมื่อมีกระแสไฟฟ้ารั่วลงดินจนถึงค่าที่ตรวจจับได้ และยังสามารถปลดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้อีกด้วย 
            แต่เบรกเกอร์ ELCB จะไม่สามารถปลดวงจรไฟฟ้าออกได้เองในกรณีที่ใช้กระแสไฟฟ้าเกินกว่าพิกัดที่ระบุไว้
            อย่างเช่น บนตัว ELCB ระบุค่าพิกัดกระแสที่ 30 A แต่เมื่อมีการใช้กระแสไฟฟ้าสูงเกินกว่าที่ระบุไว้หากเป็นเบรกเกอร์แบบธรรมดาก็จะปลดวงจรออกเองเมื่อใช้งานพิกัดกระแสเกินกว่าที่ระบุแต่ในกรณีของ ELCB พิกัดกระแสที่ระบุบนตัวของมันคือค่าสูงสุดที่มันจะทนได้ไม่ใช่ค่าที่มันจะปลดวงจร การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดสูงสุดที่แสดงบนELCB ก็จะทำให้มันพังโดยที่ไม่มีการปลดวงจร
            ELCB จึงเหมาะกับการนำไปใช้งาน เพื่อควบคุมและป้องกันความเสี่ยงเฉพาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งเราทราบปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่แล้วอย่างเช่นเครื่องทำน้ำอุ่น, เครื่องทำน้ำร้อน เป็นต้น


ELCB ยีห้อ KYOKOTO

              ความเร็วในการตัดไฟ โดยทั่วไป ELCB ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด มีค่าความเร็วในการตัดไฟอยู่ที่ประมาณ 0.01 - 0.04 วินาที ซึ่งในการเลือกซื้อ ELCB ให้ดูที่ค่าความเร็วของเวลาด้วย ซึ่งเวลาเพียงเสี้ยวเดียวกับเรื่องของไฟฟ้า ถือว่าสำคัญมาก


             หลักการทำงานของ ELCB คือการเปรียบเทียบกระแสไฟฟ้าระหว่างสายไฟ สาย โดยที่ในสภาวะปกตินั้น กระแสไฟฟ้าที่ไหลไปกลับต้องมีค่าเท่ากันผลรวมของค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลไปและกลับจะมีค่าเท่ากับ 0 
             แต่หากมีกระแสรั่วออกจากระบบหรือมีคนถูกไฟดูดผลรวมของกระแสไฟฟ้าที่ไหลไปและกลับจะไม่เป็น 0 และผลต่างที่เกิดขึ้นนี้หากมีค่ามากพอถึงจุดที่กำหนด ก็จะถูกส่งเข้าวงจรขยายสัญญาณ และสั่งการให้คอยล์แม่เหล็กภายในปลดวงจรออกทันที
             เบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB จะมีค่าความไวในการตรวจจับกระแสไฟรั่วหรือที่เรียกว่าค่า Sensitive มีหน่วยเป็น มิลลิแอมแปร์ : mA 
            ในกรณีของเบรกเกอร์ ELCB ในท้องตลาดมีค่าความไวให้เลือกอยู่ ค่า คือ 15 mA และ 30 mA และหากจะนำเบรกเกอร์ ELCB มาใช้งานกับเครื่องทำน้ำอุ่นหรือเครื่องทำน้ำร้อน ควรเลือกค่าความไวในระดับ 15 mA จะเหมาะสมที่สุด
            ความเร็วในการตัดไฟโดยทั่วไป ELCB ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด จะมีความเร็วในการปลดวงจรไฟฟ้าอยู่ที่ราวๆ 0.30 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นความไวที่อยู่ในระดับมาตรฐาน เนื่องจากว่ามาตรฐานกำหนดความเร็วในการปลดวงจรของอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด ที่ใช้ป้องกันบุคคล ต้องสามารถปลดวงจรออกได้ในระยะเวลาไม่เกิน 0.04 วินาที



ภาพแสดงให้เห็นถึงการเปรียบเทียบขณะกระแสไฟฟ้ารั่วและไหลผ่านร่างกายมนุษย์(ไฟดูด)





ปุ่ม TEST
            เป็นปุ่มที่มีไว้เพื่อทดสอบการทำงานของ ELCB ว่ายังสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ซึ่งในสภาวะที่ไม่มีการจ่ายไฟเข้ามาที่ ELCB เมื่อกด TEST จะไม่มีผลไดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะหลักการทำงานของปุ่ม TEST เปรียบเสมือน การจำลองสภาวะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปและกลับมาไม่เท่ากันซึ่งกล่าวง่ายๆ คือเป็นการจำลองสภาวะที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกไปนั่นเอง

           ปุ่ม TEST มีไว้สำหรับให้ผู้ใช้ทดสอบการทำงานของ ELCB ว่ายังทำงานป้องกันไฟรั่วได้อยู่หรือไม่ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้ใช้ควรทดสอบการทำงานของระบบบ้าง


ปุ่มสีส้มบนELCBในภาพ คือปุ่มTEST

            ขนาดของ ELCB ตามท้องตลาดที่มีออกวางจำหน่ายส่วนใหญ่จะพบแต่ขนาด 30 A และ 32 A ที่เคยเห็นมีเพียงของHaco เท่านั้นที่ผลิดออกมา ขนาดคือ 16A และ 32 A แต่ข้อเสียคือHaco มีค่าตรวจจับกระแสไฟรั่วให้เลือกเพียงค่าเดียว คือ 30 mA 
            ส่วนสาเหตุที่ผู้ผลิตไม่ผลิตขนาดแอมป์ออกมาหลายขนาด ไม่เหมือนกับเซฟตี้เบรกเกอร์ก็เพราะว่า ELCB ไม่มีความสามารถในด้านการป้องกันกระแสเกิน จะป้องกันได้เพี่ยงไฟดูดและไฟลัดวงจรเท่านั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องผลิต ELCB ให้มีขนาดพิกัดกระแสหลายๆขนาดผู้ผลิตจึงไม่ผลิตออกมาหลายขนาด





เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควรมีELCBเป็นตัวป้องกัน เพื่อเสริมความปลอดภัยได้แก่


เครื่องทำน้ำอุ่น(บางยี่ห้อจะมี ELCB ติดมากับตัวอันนี้ไม่ต้องติด ELCB เพิ่มก็ได้)



เครื่องทำน้ำร้อน(บางยี่ห้อจะมี ELCB ติดมากับตัวอันนี้ไม่ต้องติด ELCB เพิ่มก็ได้)
           ในกรณีของเครื่องทำน้ำอุ่นและเครื่องทำน้ำร้อนควรจะติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกัน หรือไม่นั้นแนะนำให้พิจารณาจากระบบป้องกันไฟดูดที่ทางผู้ผลิตใส่มาให้กับตัวเครื่องหากไม่มีระบบป้องกันไฟดูดมาให้เลย อันนี้สมควรติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูดELCBเพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกัน
           แต่...ถ้าตัวเครื่องมีระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ามาให้แล้วก็ควรพิจารณาระบบป้องกันที่ผู้ผลิตให้มาด้วย

           ถ้าตัวเครื่องมีการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูดELCB มาให้ภายในแล้วอันนี้ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติม

ภาพเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้เป็นตัวเบรกเกอร์กันดูด ELCB/ELB มาป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ซึ่งเป็นแบบที่น่าไว้วางใจมากที่สุด(ในตอนนี้)



           แต่ถ้าภายในเครื่อง บอกว่ามีระบบตัดไฟหรือระบบป้องกันไฟดูดแต่ตัวที่ทำหน้าที่ป้องกันนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ได้เป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB
          ซึ่งโดยทั่วไปถ้าไม่มีการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB ผู้ผลิตจะติดตั้งชุดป้องกันไฟดูดไฟรั่วแบบที่ประกอบขึ้นมาบนแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์
            แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกประกอบขึ้นเพื่อใช้ตรวจจับและตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อเกิดไฟรั่วในการใช้งานจริง แม้ว่าจะทำงานได้รวดเร็วกว่าการใช้เบรกเกอร์ ELCB แต่ในด้านของความเสถียรนั้นแผงวงจรแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ผู้ผลิตเครื่องทำน้ำอุ่นแต่ละรายเลือกใช้อาจจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป ซึ่งความเสถียรในระยะยาวและความน่าเชื่อถือนั้นยังไงก็ยังจะดูเป็นรองเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB อยู่อีกเยอะเพราะด้วยความที่ เบรกเกอร์ ELCB เป็นอุปกรณ์ที่การทำงานจะเน้นไปในลักษณะรูปแบบของการทำงานทางกลเป็นหลักจึงมีความน่าเชื่อถือในระยะยาวมากกว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชิ้นมาประกอบ
ภาพเครื่องทำน้ำอุ่นที่ใช้แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นตัวป้องกันอันตรายจากไฟดูด ซึ่งดูไม่น่าเชื่อถือเมื่อเทียบกับการติดตั้งเป็นตัวเบรกเกอร์กันดูด ELCB/ELB


             ถ้าหากท่านใดใช้เครื่องทำน้ำอุ่นแบบที่นำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาเป็นวงจรสำหรับป้องกันไฟดูดทางที่ดีสุดควรติดตังเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB เพิ่มเติมเพื่อเสริมการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง 
เพราะมาตรฐานของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับป้องกันไฟดูด ที่ผู้ผลิตแต่ละรายใช้ ล้วนมีความหลากหลาย และการออกแบบก็อาจจะไม่เหมือนกัน เช่น บางรายก็กำหนดให้มีรีเลย์ที่ใช้ตัดไฟเฉพาะสายเส้น L บางรายก็ให้รีเลย์ตัดทั้งสายเส้น L และ N ด้วยเหตุนี้ จึงควรจะต้องมีการนำเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB มาติดตั้งเสริมอีกชั้น




ตัวอย่าง เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่นๆ ที่ควรป้องกันอันตรายโดยการติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูด ELCB



เครื่องซักผ้า







ตู้ทำน้ำเย็นที่มีตัวถังเป็นโลหะ (อันนี้เคยมีโศกอนาตกรรมที่ถือเป็นกรณีให้ศึกษาให้ได้เห็นมาหลายรายแล้ว)




ปั๊มน้ำ และระบบกรองน้ำที่ใช้ไฟฟ้า




สระน้ำหรือบ่อเลี้ยงปลาที่มีระบบไฟเข้าไปเกี่ยวข้อง
ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kanichikoong&month=10-12-2008&group=17&gblog=3

ความคิดเห็น