จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
ภาพที่ 1 แสดงแผงจ่ายไฟ ที่เขียนแบบ Schematic Diagram
ผู้อ่านแบบจะต้องอ่านแบบให้เข้าใจ เพื่อที่จะได้ทราบว่าจะต้องใช้อะไรเป็นตัวควบคุม ใช้ขนาดกี่แอมป์
ในปัจจุบันแผงจ่ายไฟฟ้าภายในอาคารจะออกแบบให้มีความสะดวกในการติดตั้ง โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. แบบ 1 เฟส เรียกว่าคอนซูมเมอร์
2. แบบ 3 เฟส เรียกโหลดเซนเตอร์
ทั้ง 2 ชนิด จะประกอบด้วยเมนเบรกเกอร์ และเบรกเกอร์ย่อย ประกอบอยู่ภายในแผงจ่ายไฟ
โดยเมนเบรกเกอร์ก็จะมี 2 แบบ คือแบบธรรมดา และแบบป้องกันไฟรั่วได้ หรือแบบที่มีเมนเบรกเกอร์ทั้ง 2 ชนิดอยู่
ภาพที่ 2 แสดงคอนซูมเมอร์ ใช้กับอาคารที่ใช้ระบบไฟฟ้า 1 เฟส
ผู้ติดตั้งสามารถหาซื้อมาใช้ได้ เพียงแต่ต้องทราบว่าจะใช้เมนเบรคเกอร์แบบใดหรือทั้ง 2 แบบ ขนาดกี่แอมป์ และจำนวนเบรคเกอร์ย่อยจำนวนกี่ตัว จึงจะสามารถเลือกซื้อคอนซุเมอร์ หรือโหลดเซนเตอร์ที่สามารถใส่เมนเบรคเกอร์และเบรคเกอร์ย่อยได้ตามต้องการ โดยการอ่านแบบจากแบบแผงจ่ายไฟ
ภาพที่ 3 แสดงแผงจ่ายไฟฟ้า แบบ Oneline Diagram
1. เมนเบรคเกอร์ ชนิด 2 ขั้ว ขนาด 30 A จำนวน 1 ตัว
2. เบรคเกอร์ย่อย หรือลูกเบรคเกอร์ ขนาด 10 A จำนวน 4 ตัว (ต่อใช้ไฟตามวงจรที่ 1 และ 3 ส่วนอีก 2 ตัว ให้สำรองไว้เพื่อใช้ในอนาคต)
3. เบรคเกอร์ย่อย หรือลูกเบรคเกอร์ ขนาด 15 A จำนวน 2 ตัว
4. คอมซูมเมอร์ ชนิด 1 เมน 6 ช่อง จำนวน 1 ตัว (โดยปกติควรใช้ตู้คอมซูมเมอร์ที่มีจำนวนช่องมากกว่า แบบกำหนด เพื่อการติดตั้งวงจรเพิ่มขึ้นในอนาคต)
ซึ่งแผงจ่ายไฟตามวงจร ดังภาพที่ 3 ก็คือคอนซูมเมอร์ ตามภาพที่ 2 นั่นเอง
การเขียนแบบแผงจ่ายไฟฟ้า ผู้เขียนอาจเขียนอยู่ในรูปแบบ Schematic Diagram ดังภาพที่ 1 หรือ แบบ Oneline Diagram ดังภาพที่ 3 ก็ได้ หรือหากเป็นงานที่เป็นอาคารขนาดเล็ก ผู้เขียนอาจไม่เขียนมาก็ได้ ผู้ประมาณการติดตั้งจะต้องคิดประมาณการแผงจ่ายไฟด้วยตนเอง โดยยึดหลักความปลอดภัยตามกฎการติดตั้งไฟฟ้า
ความคิดเห็น