- 1. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) คืออะไร สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าวหรืออาจกล่าวได้ว่า ชื่อ หรือสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบระหว่างชื่อแหล่งภูมิศาสตร์นั้นกับสินค้าแสดงให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้ทราบถึงแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น ซึ่งแหล่งกำเนิดนั้นส่งผลให้สินค้านั้นมีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างสินค้าชนิดเดียวกันในท้องถิ่นอื่น
- 2.กฎหมายที่คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
- 3.ลักษณะของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอรับความคุ้มครองได้
- 3.1 เป็นชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น มีคุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะ
- 3.2 สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้นต้องมีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ คือ พื้นที่ของประเทศ เขต ภูมิภาค และท้องถิ่นและให้หมายความรวมถึงทะเล ทะเลสอบ แม่น้ำ เกาะ ภูเขา หรือพื้นที่อื่นทำนองเดียวกัน
- 3.3 ไม่เป็นชื่อสามัญที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นชื่อที่ใช้เรียกขานสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น
- 3.4 ไม่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือนโยบายของรัฐ
- 3.5 กรณีเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของต่างประเทศจะต้องปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศนั้นและมีการใช้สืบเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนในประเทศไทย
- 4.ผู้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียน
- 4.1 ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์การอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคลซึ่งมีเขตรับผิดชอบครอบคลุมบริเวณแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า
- 4.2 บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล หรือ นิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการค้าเกี่ยวกับสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และมีถิ่นที่อยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า
- 4.3 กลุ่มผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
- 5.การเตรียมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
- 1. กำหนดสินค้าที่ต้องการคุ้มครอง รวบรวมข้อมูลและรวมกลุ่มผู้ประกอบการทั้งสายการผลิต (ตั้งแต่ผู้ผลิตจนถึงผู้จำหน่าย) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขอขึ้นทะเบียน
- 2. จัดทำขอกำหนดในการผลิตสินค้า ขอบเขตพื้นที่ในการผลิตความเชื่อมโยงของสินค้ากับพื้นที่ และประวัติศาสตร์ความเป็นมา
- 3. จัดทำคำขอขึ้นทะเบียนตามกฎหมายยื่นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย
- 4. จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบและกลไกควบคุมการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามที่ขอขึ้นทะเบียนไว้
- 6. ผู้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ภายหลังได้รับการขึ้นทะเบียน
- 1.ผู้ผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ซึ่งอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ของสินค้า ดังกล่าว
- 2. ผู้ประกอบการค้าเกี่ยวกับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์นั้น
- 7.การระงับใช้ในกรณีผุ้มีสิทธิใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้และนายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งให้ปฏิบัติตามเงื่อนภายระยะเวลาที่กำหนดหากไม่ปฏิบัติตามโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร นายทะเบียนอาจมีคำสั่งให้ระงับใช้เป็นระยะเวลาไม่เกินสองปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
- 8.อายุการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตลอดไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาเว้นแต่จะมีการเพิกถอนทะเบียน
- 9.การคุ้มครองสำหรับสินค้าเฉพาะอย่างสินค้าเฉพาะอย่าง หมายถึง สินค้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศกำหนดเป็นสินค้าเฉพาะอย่าง ได้แก่ ข้าว ไหม ไวน์ และสุรา ซึ่งสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเภทเหล่านี้ จะได้รับความคุ้มครองระดับพิเศษกล่าวคือ หากมีการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์กับสินค้าที่ไม่ได้มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ระบุในคำขอ แม้ว่า ผู้ใช้จะได้ระบุแหล่งภูมิศาสตร์ที่แท้จริงก็ตาม รวมถึงการใช้คำว่า ชนิด ประเภท แบบ หรือคำ หรือสิ่งทำนองเดียวกัน ประกอบกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ใช้กับสินค้านั้น เช่น จะบรรยายในฉลากว่า ข้าวชนิดนี้เป็นข้าวชนิดเดียวกับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา ร้องไห้ผลิตจากจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้ เพราะถือว่าสินค้าข้าวเป็นสินค้าเฉพาะอย่างที่ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศกำหนดไว้ เป็นต้น
- 10.เอกสารและหลักฐานที่ใช้ในการขอขึ้นทะเบียน
- 1. คำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (สช.01) พร้อมสำเนา 1 ชุด
- 2. หลักฐานอื่นๆ ของผู้ขอ เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือรับรองนิติบุคคล เป็นต้น
- 3. สำเนาหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- 4. ภาพถ่ายของสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียน
- 5. ต้นฉบับ สำเนา หรือภาพถ่ายฉลากสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียน
- 6. เอกสารอื่นๆ ได้แก่
- 6.1 เอกสารยืนยันความมีคุณภาพ ชื่อเสียง คุณสมบัติหรือคุณลักษณะอื่นของสินค้า
- 6.2 เอกสารยืนยันถึงความเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
- 6.3 ภาพถ่ายแผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ของแหล่งภูมิศาสตร์ที่ขอขึ้นทะเบียน
- 6.4 เอกสารยืนยันว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากพื้นที่แหล่งภูมิศาสตร์
- 11.ค่าธรรมเนียม
- คำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฉบับละ 500 บาท
- คำคัดค้านการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฉบับละ 500 บาท
- คำอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจของนายทะเบียน ฉบับละ 500 บาท
- คำขอแก้ไขทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฉบับละ 200 บาท
- คำขอเพิกถอนทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ฉบับละ 200 บาท
- คำขออื่นๆ ฉบับละ 200 บาท
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
อ้างอิงจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ที่มา : http://www.trueinnovationcenter.com/ip_geographical_indications.php
ความคิดเห็น