ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แผนผังภูมิของวงจรรวม

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

แผนผังภูมิของวงจรรวม
  1. 1. แบบผังภูมิของวงจรรวมคืออะไร
    แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout – Designs of Integrated Circuits)
    คือ แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะประกฎ ในรูปแบบใด หรือวิธีใดเพื่อให้เห็นถึงการจัดวางชิ้นส่วนทางไฟฟ้า หรือทางเดินไฟฟ้าเพื่อใช้ผลิตให้เป็นวงจรรวม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด เช่น แผนผัง (Layout Design) ซึ่งเป็นภาพวาดการจัดวางของวงจรไฟฟ้า และแบบที่เป็นงานหน้ากาก ( Mask Work) ซึ่งใช้ในการผลิตวงจรรวม ภาพถ่ายลายเส้นของวงจรรวม เป็นต้น
  2. 2. เงื่อนไขของแบบผังภูมิที่จะนำมาขอรับความคุ้มครอง
    กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า แบบผังภูมิที่จะนำมาขอรับความคุ้มครองได้นั้นจะต้องเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    1. 2.1 จะต้องเป็นแบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นเองและไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมวงจรรวม
    2. 2.2 เป็นแบบผังภูมิที่ผู้ออกแบบได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยนำเอาชิ้นส่วนส่วนเชื่อมต่อแบบผังภูมิหรือวงจรรวมอันเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาจัดวางใหม่ทำให้เกิดเป็นแบบผังภูมิใหม่
  3. 3.ผู้มีสิทธิขอรับความคุ้มครอง
    กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิขอรับความคุ้มครองแบบผังภูมิ
    1. 3.1 ผู้ออกแบบ หรือผู้ออกแบบร่วม
    2. 3.2 พนักงานหรือลูกจ้าง ในกรณีที่เป็นการจ้างแรงงาน
    3. 3.3 ผู้ว่าจ้าง ในกรณีที่เป็นการจ้างทำของ
    4. 3.4 หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
    5. 3.5 ผู้รับโอนหรือผู้รับมรดก
    กรณีที่สิทธิ์ในการขอรับความคุ้มครองในแบบผังภูมิเป็นของบุคคลตาม 3.2 , 3.3 และ 3.4 นั้น กฎหมายได้กำหนดเพิ่มเติมไว้ว่า ถ้ามีหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นก็ให้เป็นไปตามนั้น เช่น กรณีที่เป็นการแจ้งแรงงาน ถ้านายจ้างกับลูกจ้างได้ทำหนังสือตกลงกันไว้ต่างหากว่าแบบผังภูมิที่ลูกจ้างได้สร้างสรรค์ขึ้นมาให้สิทธิ์ในการขอรับความคุมครองตกเป็นของนายจ้าง ดังนี้ย่อมทำได้
  4. 4.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอรับความคุ้มครอง
    กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า ผู้ที่มีสิทธิขอรับความคุ้มครองแบบผังภูมินั้น ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
    1. 4.1 มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
    2. 4.2 มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองแบบแผนภูมิของวงจรรวมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
    3. 4.3 มีภูมิลำเนา หรือสถานที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์แบบผังภูมิหรือการผลิตวงจรรวมออย่างจริงจังในประเทศไทย หรือประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองแบบแผนภูมิของวงจรรวมซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
  5. 5. ลักษณะของการคุ้มครอง
    รูปแบบของการให้ความคุ้มครองแบบผังภูมิจะเหมือนกับการให้ความคุ้มครองด้านสิทธิบัตร กล่าวคือ ใช้ระบบจดทะเบียน ซึ่งจะตรวจสอบแต่เฉพาะความถูกต้องด้านของเอกสารและคุณสมบัติของผู้ขอรับความคุ้มครอง ผู้ที่ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองแบบผังภูมิจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนที่ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดก็ได้ ซึ่งสำนักพาณิชย์จังหวัดจะส่งคำขอดังกล่างให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการต่อไปโดยคำขอจดทะเบียนจะต้องมีรายการตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ชื่อและที่อยู่ของผู้ออกแบบ วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมิ ภาพวาดหรือภาพถ่ายลายเส้นที่แสดงแบบผังภูมิ หรือตัวอย่างของวงจรรวมที่จะนำแบบผังภูมินั้นไปใช้
  6. 6.เงื่อนไขในการยื่นขอจดทะเบียน
    1. 6.1 กรณีที่นำแบบผังภูมิออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แล้ว ไม่ว่าภายในหรือภายนอกประเทศ การยื่นขอจดทะเบียนแบบผังภูมิ จะต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้นำแบบผังภูมินั้นออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก
    2. 6.2 ในกรณีที่ยังไม่มีการนำแบบผังภูมิออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (ยังไม่มีการผลิตหรือจำหน่าย) ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 15 ปี นับแต่วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมินั้นเสร็จสิ้น
  7. 7.อายุการคุ้มครอง
    กฎหมายกำหนดให้หนังสือสำคัญแบบผังภูมิมีอายุ 10 ปี นับแต่วันยื่นขอจดทะเบียนหรือวันที่นำออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก แล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน แต่ทั้งนี้ไม่เกิน 15 ปีนับแต่วันที่สร้างสรรค์แบบผังภูมินั้นเสร็จหากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ผู้สร้างสรรค์ก็ไม่สามารถนำแบบผังภูมิมาขอจดทะเบียนได้ แม้ว่าจะไม่เคยนำแบบผังภูมินั้นออกหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ก็ตาม
  8. 8.สิทธิของผู้ทรงสิทธิ
    ผู้ทรงสิทธิในแบบผังภูมิมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนี้
    1. 8.1 ทำซ้ำซึ่งแบบผังภูมิที่ตนได้รับการคุ้มครอง
    2. 8.2 นำเข้า ขาย หรือจำหน่ายเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ในแบบผังภูมิที่ได้รับความคุ้มครอง หรือวงจรรวมที่มีแบบผังภูมิที่ได้รับความคุ้มครองประกอบอยู่หรือผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรรวมมาประกอบอยู่
  9. 9.ขั้นตอนการจดทะเบียน
อ้างอิงจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
ที่มา : http://www.trueinnovationcenter.com/ip_integrated_circuits.php

ความคิดเห็น