ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
           โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส  เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้กังหันแก๊สเป็นเครื่องต้นกำลัง ซึ่งได้พลังงานจากการเผาไหม้ของส่วนผสมระหว่างก๊าซธรรมชาติหรือน้ำมันดีเซลกับอากาศความดันสูง (Compressed Air) จากเครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) ในห้องเผาไหม้เกิดเป็นไอร้อน ที่ความดันและอุณหภูมิสูงไปขับดันใบกังหันเพลากังหันไปขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า
 กังหันก๊าซหนองจอก

รูปโรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส

       เครื่องกังหันแก๊สแบ่งเป็น 2 แบบ คือ Open Type และ Closed Type แต่ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นแบบ Open Typeซึ่งสามารถแยกตามการออกแบบเป็น Jet Type และ Heavy Duty Typeโดยที่ชนิด Jet Type จะได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และมีความเร็วรอบสูง เหมาะสมที่จะใช้เป็นเครื่องต้นกำลังของเครื่องบิน แต่สำหรับโรงไฟฟ้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Heavy Duty Type  โรงไฟฟ้ากังหันแก๊สมีประสิทธิภาพประมาณ 25% สามารถเดินเครื่องได้อย่างรวดเร็วเหมาะที่จะใช้เป็นโรงไฟฟ้าสำรองเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Load Period) และกรณีฉุกเฉิน และมีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี

gasturbineanimationรูปเครื่องกังหันแก๊สแบบ Jet Type

หลักการทำงาน
  1. เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน ทำการอัดอากาศ ให้มีความดันสูง 8-10 เท่า
  2. ส่งอากาศเข้าไปในห้องเผาไหม้ โดยมีเชื้อเพลิงทำการเผาไหม้
  3. อากาศในห้องเผาไหม้เกิดการขยายตัวทำให้แรงดันและ อุณหภูมิสูง
  4. ส่งอากาศเข้าไปในหมุนเครื่องกันหันแก๊ส
  5. เพลาของเครื่องกังหันแก๊สจะต่อกับเพลาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำได้กระแสไฟฟ้า

g1โครงสร้างกังหันแก๊ส

ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส

ข้อดีของโรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส
  1. สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าเสริมเข้าระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ใช้ระยะเวลาก่อสร้างและติดตั้งน้อยกว่าโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ  เนื่องจากการจัดซื้อระบบกังหันแก๊สสำเร็จรูปทั้งชุดนำมาติดตั้งบนฐานรากที่เตรียมไว้
  3. สามารถนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันแก๊สไปผลิตไฟฟ้าในระบบโรงไฟฟ้าพลังกังหันไอน้ำได้
  4. เชื้อเพลิงสำรองก๊าซธรรมชาติมีอย่างเพียงพอทั้งแหล่งผลิตในประเทศและต่างประเทศใกล้เคียงคือประเทศพม่า
ข้อเสียของโรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส
  1. เครื่องกังหันแก๊สมีราคาแพง
  2. ต้องจัดซื้อเชื้อเพลิงจากต่างประเทศทำให้เสียเงินตราของประเทศ
  3. การส่งแก๊สจากแหล่งผลิตมายังโรงไฟฟ้าเป็นระยะทางไกล ( เช่น ต้องส่งผ่านท่อเส้นผ่านศูนย์กลาง  36  นิ้ว จากโรงแยกก๊าซจังหวัดระยองมายังโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา   หรือจากแหล่งก๊าซยาดามา   ประเทศพม่า   มายังโรงไฟฟ้าจังหวัดราชบุรีเป็นระยะทางถึง  703  กิโลเมตร  เป็นต้น )
ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com/โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ/ 

ความคิดเห็น