ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร
          ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด ดังนี้
1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
3. มินิคอมพิวเตอร์
4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์
5. ไมโครคอมพิวเตอร์

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
          1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ความเร็วในการประมวลผลสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิจัย การพยากรณ์อากาศทั่วโลก การออกแบบเครื่องบิน งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน เป็นต้น
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
          2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจาก Super Computer สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน มีความเร็วสูง ส่วนมากนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น

มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
          3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไม่โครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกันกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์กรหลายประเภทนิยมนำมินิคอมพิวเตอร์มาใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer)
          4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ) เป็นต้น
          5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือเรียกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันเป็นประเภทที่นิยมนำมาใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก นิยมใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและสามารถนำไปใช้ในการทำงานเล็ก ๆ ได้ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์พกพา (Portable Computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                    5.1 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษาและที่บ้าน

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)
                    5.2 คอมพิวเตอร์พกพา (Portable Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่
                              - Notebook Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีน้ำหนักประมาณ 2- 4 กิโลกรัม อุปกรณ์ประกอบด้วยแป้นพิมพ์ขนาดมาตรฐาน ปกติจะมีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ โดยเฉพาะในปัจจุบันจะมีเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอมด้วย


Notebook Computer
                              - Subnotebook Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โดยทั่วไปมีน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม เพื่อเป็นการลดขนาดและน้ำหนักในบางเครื่อง Subnotebook จะไม่มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ และจะใช้การ์ดบันทึกสำหรับงานเฉพาะอย่างแทน



Subnotebook Computer
                              - Laptop Computer มีน้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คปกติ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 4-7 กิโลกรัม ส่วนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมาจากน้ำหนักของฮาร์ดดิสก์และจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่กว่า


Laptop Computer
                              - Hand - Held Computer ออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างและนิยมใช้สำหรับงานที่มีการเคลื่อนย้าย เช่น การนับจำนวนสินค้า เป็นต้น

Hand - Held Computer
                              - Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้จัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ปฏิทินนัดหมายการประชุม ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ การบันทึกสิ่งจะต้องทำ เป็นต้น Palmtop ใช้แป้นพิมพ์ที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์มาตรฐานและไม่มีฮาร์ดดิสก์สำหรับบันทึกข้อมูล


Palmtop Computer
                              - Pen Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ใช้ปากกาเป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลบนหน้าจอ และในบางครั้งอาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ระบบปากกาหรือ Pen System นี้ใช้โปรแกรมพิเศษเฉพาะระบบ และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เนื่องจากมีผู้ใช้อย่างกว้างขวาง Pen Computer ประเภทที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คือ Personal Digital Assistant (PDA) หรือ Personal Communicator

Pen Computer
                              - คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ แต่จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้น ๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกมส์ ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

ที่มา : http://neung.kaengkhoi.ac.th/งาน61-6/61/วิชชุพร/Wichuporn/P3.html

ความคิดเห็น