โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม เป็นการนำเอาเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ และโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำมาใช้งานเป็นระบบร่วมกัน โดยการนำไอเสียจากโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ ซึ่งมีความร้อนสูงประมาณ 500 องศาเซลเซียส ไปผ่านหม้อน้ำ และถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำ ทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอเพื่อขับกังหันไอน้ำ สำหรับผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป โดยทั่วไปโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจะประกอบด้วยเครื่องกังหันก๊าซ 1 – 4 เครื่องร่วมกับกังหันไอน้ำ 1 เครื่องรูปโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมประกอบด้วย ส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ
- เครื่องกังหันก๊าซ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซ)
- หม้อน้ำ
- เครื่องกังหันไอน้ำ (เช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ)
หลักการทำงาน
- เชื้อเพลิงก๊าซจะถูกส่งเข้าไปยังห้องเผาไหม้ของเครื่องกังหันก๊าซ โดยมีอากาศที่ถูกอัดด้วยความดันสูง 8-10 เท่าจากเครื่องอัดอากาศมาช่วยเผาไหม้ ทำให้เกิดการขยายตัวของก๊าซร้อนดันและอุณหภูมิสูงส่งเข้าไปขับดันกังหันก๊าซ ขับเคลื่อนและฉุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ต่ออยู่บนเพลาเดียวกัน
- ก๊าซร้อนที่ขับดันกังหันก๊าซเสร็จจะถูกส่งออกไปยังห้องเผาไหม้อีกครั้งหนึ่ง และนำความร้อนนี้ไปต้มน้ำที่หม้อน้ำ
- น้ำที่ถูกต้มจะกลายเป็นไอความดันสูงไปขับกังหันไอน้ำ เพื่อขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- ส่วนไอน้ำที่ขับดันกังหันไอน้ำแล้ว ส่วนที่ยังคงมีความดันสูงอยู่จะไหลผ่านวาล์วความดัน ได้ไอน้ำส่วนนี้ก็จะขับดันกังหันอีกครั้งหนึ่ง
- ส่วนไอน้ำความดันลดลงก็จะถูกส่งเข้าไปยังเครื่องควบแน่น ซึ่งจะระบายความร้อนของไอน้ำด้วยน้ำ ไอน้ำจะถูกควบแน่นเป็นน้ำ ปั๊มส่งไปยังถังพักน้ำ เพื่อส่งไปต้มต่อไปยังหม้อต้มน้ำ
รูปโครงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
ข้อดี-ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
ข้อดีของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
- ประหยัดค่าเชื้อเพลิงในหน่วยผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
- มีความเหมาะสมในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้า
- สามารถออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและน้ำมันเตา
- ประสิทธิภาพรวมของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมสูงถึง 50 % เปรียบเทียบกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่วไปซึ่งมีค่าเพียง 40%
ข้อเสียของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม
- ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมนั้นมีราคาสูง
- กรณีใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง ทำให้เสียเงินตราในการนำเข้าจากต่างประเทศ
- ในกรณีที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าบางแห่งมีสัญญาซื้อกับบริษัทต่างชาติ ทำให้เงินตรารั่วไหลออกนอกประเทศ
ที่มา : https://powerplant2.wordpress.com/โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อ/
ความคิดเห็น