![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
กฎของโอห์ม เป็นกฎที่นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ ยอส ไซมอน โอห์ม (Georg Simon Ohm) ได้ทดลองเกี่ยวกับไฟฟ้าและได้ค้นพบความสัมพันธ์ของแรงดันไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า จึงได้ตั้งเป็นกฎขึ้นมาใช้หาค่าทางไฟฟ้าทั้งสามค่าขึ้นมา และเรียกว่ากฎของโอห์ม
โดยกฎของโอห์มกล่าวว่า “
ในวงจรไฟฟ้าใดๆ กระแสไฟฟ้าจะแปรผันตรงกับแรงดันไฟฟ้า
และแปรผกผันกับความต้านทานไฟฟ้า ”
ถ้าให้ I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)
E = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็นโวลท์ (V)
R = ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ω)
จะได้ I = E / R
หรือ E =
IR
หรือ R = E / I
จากค่าทางไฟฟ้าทั้งสามค่า
หากเราทราบค่า 2 ค่า เราจะสามารถหาค่าที่เหลือได้ จากสูตรทั้งสาม
ตัวอย่างที่ 1
จากวงจรจงหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร
วิธีทำ
จากวงจร ค่าที่ทราบ
E
= 10 V
R = 100 Ω
จากกฎของโอห์ม สูตรหาค่ากระแส
I =
E / R
แทนค่าที่ทราบลงในสูตร จะได้
I = 10 / 100
= 0.1 A ตอบ
ตัวอย่างที่
2 จากวงจรจงหาค่าแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวงจร
วิธีทำ
จากวงจร ค่าที่ทราบ
I = 2 A
R = 100 Ω
จากกฎของโอห์ม สูตรหาค่าแรงดันไฟฟ้า
E
= IR
แทนค่าที่ทราบลงในสูตร จะได้
E
= 2 X 100
= 200 V ตอบ
ตัวอย่างที่
3 จากวงจรจงหาค่าความต้านทานไฟฟ้าของวงจร
วิธีทำ
จากวงจร ค่าที่ทราบ
I = 2 A
E = 50 V
จากกฎของโอห์ม สูตรหาค่าความต้านทานไฟฟ้า
R
= E / I
แทนค่าที่ทราบลงในสูตร จะได้
R
= 50 / 2
= 25 Ω ตอบ
เราสามารถจำสูตรกฎของโอห์มได้ง่ายขึ้น
ด้วยการเขียนให้อยู่ในรูปสามเหลี่ยมกฎของโอห์ม ดังนี้
วิธีการใช้งานสามเหลี่ยมกฎของโอห์ม
เมื่อเราต้องการหาค่าอะไร ก็ให้ปิดค่านั้นไว้ ค่าที่เรามองเห็นก็จะเป็นค่าที่เราทราบค่าทั้งสอง ต้องใช้ค่าทั้งสองมาคูณหรือหารกัน ก็จะได้คำตอบเป็นค่าที่เราปิดเอาไว้
หากค่าทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน
ก็ใช้ค่าที่ทราบค่าทั้งสองคูณกัน
หากค่าทั้งสองอยู่ในแนวบนล่าง
ก็ใช้ค่าที่ทราบค่าทั้งสองหารกัน โดยค่าที่อยู่บนเป็นตัวตั้ง และค่าที่อยู่ล่างเป็นตัวหาร
หรือจำไว้ว่าค่าแรงดันไฟฟ้า (
E ) ต้องอยู่ด้านบนของรูปสามเหลี่ยมเท่านั้น
หรือจะใช้วิธีอื่นใดที่ท่านเข้าใจก็ได้
ความคิดเห็น