ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กฏแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

กฏแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์

              กฏแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ (Kirchhoff's Voltage Law : KVL) กล่าวไว้ว่า "ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าปิดใดๆ จะเท่ากับศูนย์" หรือ "ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมความต้านทานในวงจรนั้นจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวงจรนั้น"
                จากรูปด้านบน เราสามารถเขียนสมการโดยใช้กฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ ได้ดังนี้
 ผลรวมทางพีชคณิตของแรงดันไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าปิดใดๆ จะเท่ากับศูนย์ (โดยให้แรงดันที่จ่ายมีค่าเป็นบวก และแรงดันที่ตกคร่อมที่ตัวต้านทานมีค่าเป็นลบ)

                       E1 - V1 - V2 - V3 - V4  = 0    

 หรือ ผลรวมของแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมความต้านทานในวงจรนั้นจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่จ่ายให้กับวงจรนั้น

                            V1 + V2 + V3 + V4  =  E1    

              จากภาพวงจร เราสามารถหาค่ากระแสของวงจรโดยใช้กฎแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ ได้ดังนี้
          1. หาค่าแรงดันที่ตกคร่อมที่ตัวต้านทานแต่ละตัวในวงจร โดยกฎของโอห์มที่กล่าวว่า “แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวใดจะเท่ากับกระแสที่ไหลผ่านตัวมัน คูณด้วยค่าความต้านทานของตัวนั้น” จะได้
                                V1 =  IR1  = 30I
                                V2 =  IR2  = 10I
                                V3 =  IR3  = 15I
                                V4 =  IR4  = 20I

         2. แทนค่าที่ทราบลงในสมการแรงดันของเคอร์ชอฟฟ์ จะได้ 

                             30I + 10I + 15I + 20I = E1
                                                          75I = 150
                                                             I = 150 / 75

                                                                = 2 A 
                                
               จะได้ค่ากระแสที่ไหลในวงจรเท่ากับ  2  แอมแปร์

ความคิดเห็น