ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเขียนแบบสัญลักษณ์ไฟฟ้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
                  
              หลังจากเราได้แบบแปลนบ้านหรืออาคารมาแล้ว ก็ถึงขั้นตอนที่เราจะต้องเขียนแบบสัญลักษณ์ไฟฟ้าลงไปในแบบแปลน เพื่อให้ผู้ที่นำแบบแปลนของเราไปใช้อ่านแล้ว สามารถที่จะนำไปคำนวณราคา หรือนำไปติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ที่เรากำหนดไว้ ได้ถูกต้อง ตรงตามที่เราได้ออกแบบไว้นั่นเอง
              โดยการเขียนแบบลงไปในแบบแปลน เราต้องกำหนดสัญลักษณ์ต่างๆลงไปแทนอุปกรณ์ต่างๆ ที่เราต้องการให้มีในแบบแปลน ซึ่งมีหลักและวิธีการ ดังนี้
              1. ขนาดของสัญลักษณ์ จะต้องมีขนาดที่เหมาะสมตามมาตราส่วนที่เราใช้ ยกเว้นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กมาก เช่น สวิตซ์ เต้ารับ อาจใช้ขนาดที่มองเห็นได้ในแบบ
              2. สัญลักษณ์ต้องวางบนตำแหน่งที่ต้องการให้ติดตั้ง
              3. รูปร่างที่ไม่เป็นวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส ต้องวางทิศทางให้ตรงกับรูปทรงหรือแนวที่ต้องการให้ติดตั้ง เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีความยาว ต้องวางทิศทางในตำแหน่งที่ต้องการ
              4. ตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งตู้ควบคุม ต้องวางลงบนตำแหน่งที่ต้องการ
              5. สวิตซ์ที่ควบคุมหลอดต่างๆ ต้องโยงสายควบคุม หรือแสดงเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้อ่านแบบเข้าใจ
              6. สัญลักษณ์ทุกอย่างที่เขียนลงบนแบบ ต้องมีคำอธิบายความหมายให้ชัดเจน
              7. ขนาดของสัญลักษณ์บนแบบ และคำอธิบายความหมาย ต้องมีขนาดเท่ากัน เพื่อป้องกันความสับสนหากในแบบมีสัญลักษณ์ลักษณะเดียวกัน แต่ขนาดไม่เท่ากันอยู่


ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
               1. สัญลักษณ์หลอดธรรมดา
                    เขียนโดยใช้คำสั่ง  Circle เขียนรูปวงกลม


ภาพที่ 1 แสดงสัญลักษณ์หลอดธรรมดา

               2. สัญลักษณ์หลอดฟลูออเรสเซนต์
                    เขียนโดยใช้คำสั่ง Rectangle เขียนสี่เหลี่ยม ขนาดความยาวตามอัตราส่วน


ภาพที่ 2 แสดงสัญลักษณ์หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบต่างๆ

               3. สัญลักษณ์เต้ารับ
                   เขียนโดยใช้คำสั่ง Circle เขียนรูปวงกลม และคำสั่ง Line เขียนเส้นสองเส้น จากนั้นใช้คำสั่ง Group รวมเป็นวัตถุเดียวกัน

ภาพที่ 3 แสดงสัญลักษณ์เต้ารับคู่

               4. สัญลักษณ์สวิตซ์
                    สัญลักษณ์ของสวิตซ์ โดยปกติเราจะใช้ตัวอักษร S แทน โดยอาจเขียนอยู้ในวงกลมด้วยก็ได้ ส่วนลักษณะพิเศษของสวิตซ์ ก็จะใช้เป็นตัวอักษรห้วยที่ตัว S  เช่น สวิตซ์พัดลม มีตัว F ห้อย สวิตซ์กันน้ำ มีตัวอักษร WP ห้อย เป็นต้น ดังตัวอย่างในภาพด้านล่าง


ภาพที่ 4 แสดงตัวอย่างสัญลักษณ์ของสวิตซ์แบบต่างๆ

                     การเขียนสวิตซ์และหลอดไฟ จะต้องมีสัญลักษณ์สายไฟ โยงระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง เพื่อแสดงให้ทราบว่าสวิตซ์ตัวใดควบคุมหลอดใด เช่น




                     หรือกรณีที่ตรงจุดเดียวกันมีสวิตซ์อยู่หลายตัว อาจเขียนสัญลักษณ์สวิตซ์เพียงตัวเดียว และมีอักษรห้อยที่สวิตซ์ตามจำนวนสวิตซ์  เช่น มีสวิตซ์ 4 ตัว ให้เขียน ตัวห้อย a-d ไว้ แล้วโยงสายไปที่หลอดทั้งหมด และเขียนตัวอักษร a, b, c และ d ไว้ที่หลอด เพื่อแสดงให้ทราบว่า สวิตซ์ใดควบคุมหลอดใด เป็นต้น

               5. สัญลักษณ์แผงควบคุม หรือคอนซูเมอร์

                   ให้เขียนไว้ที่ตำแหน่งที่ต้องการให้ติดตั้งแผงควบคุม บนแบบแปลนของบ้านหรืออาคาร 



                   ส่วนรายละเอียดของการต่อวงจรย่อยในอาคารหรือเบรกเกอร์ย่อย สามารถเขียนได้หลายรูปแบบ ตามความเหมาะสม ยากง่ายของการออกแบบวงจรย่อย ให้เหมาะสมตามขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคาร หรือตามมาตรฐานบังคับต่างๆ ของการต่อวงจรย่อย เช่น เขียนโดยการใช้ไดอะแกรมรูปแบบต่างๆ เขียนโดยการบรรยาย เป็นต้น
                   

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ถ้าเป็นสวิตช์สองทางแบบปิดที่เตียงกับข้างประตู ต้องเขียนแบบไหนหรอครับ
ครูตุ้ง กล่าวว่า
เขียนสัญลักษณ์ของสวิตซ์สองทาง ไว้ตรงจุดที่ติดตั้งทั้งสองจุด
แล้วลากสายจากสวิตซ์ทั้งสองตัวไปที่หลอดที่ต้องการควบคุมครับ