ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำลังไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ

จำนวนผู้เยี่ยมชม

                ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับจะมีค่าทางไฟฟ้าค่าหนึ่งที่จะทำให้ค่ากำลังไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปจากวงจรไฟฟ้ากระแสตรง คือค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าหรือค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ( PF ) หรือค่า cosq

                 สาเหตุที่ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง  ไม่ต้องใช้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์มาเกี่ยวข้องในการคำนวณ เนื่องจากในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ จะมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ ดังนั้น จึงตัดค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ออก เนื่องจากไม่มีผลให้ค่ากำลังไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ค่ากำลังไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง จึงมีค่าเท่ากับแรงดันไฟฟ้าคูณด้วยค่ากระแสไฟฟ้า ตามสูตร

                 P = EI

                 แต่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 1 ขึ้นอยู่กับในวงจรไฟฟ้าจะมีโหลดเป็นอะไร มาเกี่ยวข้อง จึงทำให้กำลังไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

                1. กำลังไฟฟ้าปรากฎ คือค่ากำลังไฟฟ้าที่แหล่งจ่าย จ่ายให้กับโหลดทั้งหมด

แทนค่าด้วย S  มีหน่วยเป็น VA (โวลต์แอมป์)

                              หาค่าได้จากสูตร   S = EI

                 2. กำลังไฟฟ้าจริง คือค่ากำลังไฟฟ้าที่โหลดสามารถจ่ายให้กับผู้ใช้

แทนค่าด้วย P  มีหน่วยเป็น W (วัตต์)

                              หาค่าได้จากสูตร   P = EIcosq

                 3. กำลังไฟฟ้าต้านกลับ คือกำลังไฟฟ้าส่วนที่เกิดการสูญเสียขึ้นภายในโหลด

แทนค่าด้วย Q  มีหน่วยเป็น VAR (วาร์)

                               หาค่าได้จากสูตร   Q = EIsinq

                   เมื่อค่า q คือ ระยะห่างของมุมระหว่างแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าในวงจร

                   จากสูตรการหาค่ากำลังไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ จะเห็นว่าค่ากำลังไฟฟ้าที่มีค่ามากที่สุดในวงจรคือค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ  

                    ส่วนค่ากำลังไฟฟ้าจริงจะแปรผกผันกับค่ากำลังไฟฟ้าต้านกลับ หมายถึงถ้ากำลังไฟฟ้าจริงมีค่ามาก กำลังไฟฟ้าต้านกลับจะมีค่าน้อยลง หากกำลังไฟฟ้าจริงมีค่าเท่ากับกำลังไฟฟ้าปรากฎ กำลังไฟฟ้าต้านกลับจะมีค่าเท่ากับศูนย์ และหากกำลังไฟฟ้าจริงมีค่าเท่ากับศูนย์ กำลังไฟฟ้าต้านกลับจะมีค่าเท่ากับกำลังไฟฟ้าปรากฎ

                   โดยกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิด จะสามารถเขียนและคำนวณค่าได้อยู่ในรูปของสามเหลี่ยมพีธาโกรัส ดังรูป 


                   โดยกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิด ตามภาพด้านบน หากเราทราบค่ากำลังไฟฟ้า 2 ชนิด จะสามารถหาค่ากำลังไฟฟ้าที่เหลือ ได้ตามทฤษฎีพีธาโกรัส คือ

                    หากเราทราบค่า P และ Q  จะสามารถหาค่า S ได้จากสูตร

                    หากเราทราบค่า S และ Q  จะสามารถหาค่า P ได้จากสูตร

                    หากเราทราบค่า S และ P  จะสามารถหาค่า Q ได้จากสูตร



                    


ความคิดเห็น