จำนวนผู้เยี่ยมชม
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับแสงสว่าง
ในสถานที่ทำงานความเข้มแสงสว่างที่น้อยหรือมากไป
เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ การออกแบบการจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร
การจัดวางผังการผลิต สภาพอาคารที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลง
การจัดวางสิ่งของ มีการเพิ่มกระบวนการทำงานโดยไม่คำนึงถึงระบบการส่องสว่าง หรือ
ขาดการบำรุงรักษา การทำความสะอาด เป็นต้น
สภาพความเข้มของแสงสว่างในบริเวณการทำงานไม่เพียงพอ
อาจมีสาเหตุจาก
1. การจัดระบบแสงสว่างไม่เหมาะสม
1.1 การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร เป็นการส่องสว่างแบบทั่วไป มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายแสงสว่างให้มีการส่องสว่างทั่วบริเวณการทำงานภายในอาคาร ไม่ได้เป็นการจัดหรือติดตั้งระบบไฟเฉพาะจุด ฉะนั้นงานบางลักษณะ ที่ต้องการความเข้มของแสงสว่างสูงกว่าหรือมากกว่าระบบแสงสว่างทั่วไปภายในอาคาร จึงทำให้มีความเข้มแสงสว่างไม่เพียงพอ
1.1 การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร เป็นการส่องสว่างแบบทั่วไป มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกระจายแสงสว่างให้มีการส่องสว่างทั่วบริเวณการทำงานภายในอาคาร ไม่ได้เป็นการจัดหรือติดตั้งระบบไฟเฉพาะจุด ฉะนั้นงานบางลักษณะ ที่ต้องการความเข้มของแสงสว่างสูงกว่าหรือมากกว่าระบบแสงสว่างทั่วไปภายในอาคาร จึงทำให้มีความเข้มแสงสว่างไม่เพียงพอ
1.2 โคมไฟที่ให้แสงสว่างสำหรับบริเวณการทำงานอยู่ในระดับสูง
หรือโคมไฟอยู่ห่างกันมาก ทำให้ความเข้มแสงสว่างไม่เพียงพอ
มักพบในอาคารโรงงานที่มีเพดานหรือหลังคาสูง
1.3 การติดตั้งหลอดไฟในลักษณะของโคมเปลือย
ทำให้เกิดการกระจายของแสงสว่างทุกทิศทาง หลอดไฟที่ติดตั้งนี้หากติดตั้งสูงเกินไป
ก็อาจทำให้ความเข้มของแสงสว่างไม่เพียงพอ (ขึ้นอยู่กับจำนวนหลอดไฟ และกำลังไฟ)
หากติดตั้งในระดับต่ำลงมา ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาแสงจ้าส่องเข้าสู่ลานตาของผู้ปฏิบัติงานที่เรียกว่า
แสงพร่าตา
1.4 การติดตั้งหลอดไฟใกล้เสาหรือคาน
ทำให้เกิดเงาบังบริเวณการทำงาน
1.5 ความเข้มแสงสว่างไม่เพียงพอกับลักษณะงานที่ทำงานเนื่องจากจำนวนหรือขนาดของหลอดไฟไม่เพียงพอในการส่องแสงสว่าง
1.6 ระยะห่างระหว่างโคมไฟ
และจุดที่เป็นบริเวณการทำงานไม่เหมาะสม เช่น มีจุดการทำงานบางจุดที่อยู่
กึ่งกลางระหว่างตำแหน่งติดตั้งโคมไฟ ทำให้ความเข้มของแสงสว่างไม่เพียงพอ
2. การจัดผังกระบวนการทำงาน
2.1 ทิศทางการนั่งทำงาน
ก่อให้เกิดเงาจากตัวของผู้ปฏิบัติงานบดบังแสงสว่าง ณ จุดที่ทำงาน
2.2 จากการจัดวางวัสดุ
อุปกรณ์ปิดกั้น ทิศทางของแสงสว่างที่จะส่องมายังบริเวณที่ทำงาน เช่น ป้าย กล่อง
ลัง ตู้จัดเก็บสิ่งของ เป็นต้น
2.3 บริเวณการทำงานอยู่ภายใต้เงาบังของเครื่องจักร
2.4 บริเวณการทำงานอยู่ในมุมห้อง
หรือห้องที่ไม่มีโอกาสได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติเพื่อช่วยเพิ่มความเข้มแสงสว่าง
2.5 การได้แสงสว่างจากภายนอก
เพื่อช่วยในการปฏิบัติงาน แต่จัดทิศทางเข้าของแสงสว่างอย่างไม่ถูกต้อง
ทำให้เกิดแสงสะท้อน หรือแสงพร่าตาได้
3. ขาดการตรวจสอบ
บำรุงรักษาแหล่งกำเนิดแสงสว่างที่ให้แก่บริเวณการทำงาน
3.1 หลอดไฟใกล้เสื่อมประสิทธิภาพ
สังเกตจากการเปล่งแสงสว่าง เมื่อเทียบกับหลอดที่มีกำลังส่องสว่างเท่ากัน
หรืออยู่ในสภาพชำรุด
3.2 หลอดไฟมีฝุ่นจับ ทำให้ประสิทธิภาพ ในการส่องสว่างน้อยลง
3.3 โคมไฟมีฝุ่นจับ
ทำให้ประสิทธิภาพในการช่วยสะท้อนกลับแสงสว่างน้อยลง
3.4 ผนังอาคาร
หรือเพดานตลอดจนเครื่องจักรอุปกรณ์อยู่ในสภาพสกปรก
ทำให้ความสามารถในการสะท้อนแสงสว่างน้อยลง
3.5 ช่องโปร่งแสงต่างๆ เช่น
ช่องแสงบนหลังคา และกระจกหน้าต่าง สกปรก ขาดการทำความสะอาด
3.6 กิ่งและใบไม้
บดบังแสงสว่างจากธรรมชาติ ไม่สามารถส่องแสงสว่างเข้ามาตามช่องรับแสงสว่างต่างๆ ได้
4. จากสาเหตุอื่นๆ
4.1 สีของผนัง เพดาน
หรือเครื่องจักร อุปกรณ์ มีคุณสมบัติในการสะท้อนแสงสว่างค่อนข้างต่ำ
4.2 เงาของเสาโครงสร้างผนัง
กองวัตถุสิ่งของบดบังบริเวณการทำงาน เนื่องจากอิทธิพลของแสงสว่างจากภายนอกที่มีมากกว่าความเข้มแสงสว่างที่จัดไว้ให้แก่บริเวณการทำงาน
จึงทำให้เกิดเงาทอดบัง
4.3 คุณภาพของแสงสว่างไม่คงที่
เนื่องจากใบของพัดลมติดเพดาน หมุนตัดขวางลำแสงที่ใช้ส่องสว่างมายังบริเวณการทำงาน
ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายไฟกระพริบตลอดเวลา
ฝ่ายพัฒนาความปลอดภัย สาขาสุขศาสตร์แรงงาน กองความปลอดภัยแรงงาน
ความคิดเห็น