ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556

จำนวนผู้เยี่ยมชม

มาตราฐานสายไฟฟ้า

            เพื่อคำนึงถึงความปลอภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักนั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556

            Code สีสายไฟใหม่สำหรับไฟฟ้าแรงดันต่ำ (230/400V) ของเมืองไทย


1 เฟส - น้ำตาล (L) , ฟ้า ( N),เขียวแทบเหลือง (G)
3 เฟส - น้ำตาล (L1) , ดำ (L2),เทา (L3), ฟ้า ( N), เขียวแทบเหลือง(G)


ทำไมต้องเปลี่ยนสีและมาตรฐานของสายไฟ
            ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ มาตรฐานสายไฟ มอก.11-2553 ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วกับมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของ วสท.2556

            การเปลี่ยนมาตรฐานและสีของสายไฟนั้นสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้เปลี่ยนมาตรฐานเป็น มอก11_2553 ซึ่งต้องการเปลี่ยนสีขนาดแรงดันและชื่อของของสายให้ตรงกับมาตรฐานIEC code ซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกและร่วมถึงประเทศที่อยู่นี้กลุ่ม AEC ด้วยเมื่อมีกฎหมายสีของฉนวนสายไฟชนิดตัวนำทองแดงหุ้มฉนวนพีวีซีเปลี่ยน ตาม มอก.11-2553นั้น แต่ในส่วนของสายไฟประเภท CV ซึ่งเป็นฉนวนประเภทXLPE นั้นผู้ผลิตได้ทำการเปลี่ยนให้เองซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับ เพราะเห็นว่าจะทำให้มีสีไปในทางเดี่ยวกันในเมื่อกฎหมายการผลิตสายไฟมีการเปลี่ยน ในส่วนของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท)ซึ่งเป็น สถาบันอิสระที่ทำมาตรฐานต่างๆ เกี่ยวกับด้านวิศวกรรมซึ่งรวมถึงมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้า สำหรับประเทศไทยด้วย ซึ่งมาตรฐานนี้ไม่ถือเป็นกฎหมายบังคับใช้แต่หลายๆองค์กร เช่น การไฟฟ้า MEA ,PEA ร่วมทั้งกรมโยธาธิการและผังเมืองและหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่ใน กฎหมายบ้างมาตราเกี่ยวกับ พรบ. ควบคุมอาคารก็ได้นำมาตรฐานนี้มาอ้างอิงและบังคับใช้ ดังนั้นเมื่อมาตรฐานสายไฟมีการปรับปรุงทางคณะกรรมการ ของ วสท.จึงถือโอกาสนี้ปรับปรุงมาตรฐานใหม่ให้มีมาตรฐานตรงกับมาตรฐานสายไฟใหม่และปรับปรุงเกี่ยวกับการหาขนาดกระแสของสายไฟร่วมถึงสายที่ใช้ในวงจรช่วยชีวิต และรายละเอียดปลีกย่อยต่างเพิ่มเติมร่วมไปในครั้งนี้ด้วย เพื่อคำนึงถึงความปลอภัยในการติดตั้งและการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักนั้นจึงเป็นที่มาของการปรับปรุง มาตรฐาน วสท. ฉบับปี 2556 

ขอบคุณข้อมูล 
tisi.go.th

ความคิดเห็น