จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
โครงสร้างที่นิยมมากที่สุด
ได้แก่ รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ
สารกึ่งตัวนำที่ราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนโลก คือ ซิลิคอน
จึงถูกนำมาสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ โดยนำซิลิคอนมาถลุง
และผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์ จนกระทั่งทำให้เป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น
โดยเมื่อเติมสารเจือฟอสฟอรัส จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น
(เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอน
จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วยโฮลซึ่งมีประจุบวก) ดังนั้น
เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและเอ็นมาต่อกัน จะเกิดรอยต่อพีเอ็นขึ้น
โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน
อาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความหนา 200-400 ไมครอน (0.2-0.4 มม.) ผิวด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึมที่มีการนำไฟฟ้า
ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมีลักษณะคล้ายก้างปลาเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด
ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นขั้วโลหะเต็มพื้นผิว
ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์จะต่ออนุกรมเซลล์เข้าด้วยกันให้ได้แรงดันรวมตามระบบมาตรฐานสากลคือ 12,24,48,…โวลท์ โดยแรงดันที่ผลิตจากแผงจะต้องมากกว่าแรงดันระบบประมาณ 1.4 -1.5 เท่า (ตามหลักการถ่ายเทประจุ แรงดันที่ชาร์จจะต้องมากกว่าแรงดันที่ต้องการชาร์จ)
ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์จะต่ออนุกรมเซลล์เข้าด้วยกันให้ได้แรงดันรวมตามระบบมาตรฐานสากลคือ 12,24,48,…โวลท์ โดยแรงดันที่ผลิตจากแผงจะต้องมากกว่าแรงดันระบบประมาณ 1.4 -1.5 เท่า (ตามหลักการถ่ายเทประจุ แรงดันที่ชาร์จจะต้องมากกว่าแรงดันที่ต้องการชาร์จ)
ตัวอย่าง ถ้าโซล่าเซลล์แบบโมโนคริสเตลไลน์
หนึ่งเซลล์ผลิตแรงดันที่กำลังไฟฟ้าสูงสุดได้ 0.5 โวลท์ กระแส 7.8 แอมป์
จะต้องใช้เซลล์ต่ออนุกรมกันจำนวน 36 เซลล์ถึงจะได้แรงดันแผงประมาณ
18 โวลท์ และแผงนี้มีกำลังไฟฟ้าประมาณ 140 วัตต์
โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ขนาดแรงดันของแผงโซล่าเซลล์
- เซลล์ภายในแผง ต่อกันแบบอนุกรม แรงดันรวมของแผง (โมดูล) จะมีค่าเท่ากับแรงดันแต่ละเซลล์บวกกัน หรือแรงดันของเซลล์ คูณด้วยจำนวนเซลล์
- ดังนั้นแผงนี้จะมีแรงดันเท่ากับ 0.5 x 36 = 18 V
ขนาดกระแสของแผงโซล่าเซลล์
- เซลล์ภายในแผง ต่อกันแบบอนุกรม กระแสรวมของแผง (โมดูล) จะมีค่าเท่าเดิม
- ดังนั้นแผงนี้จะมีกระแสเท่าเดิม คือ 7.8 A
ขนาดกำลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์
- คำนวณได้จาก การนำค่าแรงดันของแผง คูณกับค่ากระแสของแผง
- ดังนั้นแผงนี้จะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เท่ากับ 18 x 7.8 = 140.8 W
โดยมีวิธีการคำนวณ ดังนี้
ขนาดแรงดันของแผงโซล่าเซลล์
- เซลล์ภายในแผง ต่อกันแบบอนุกรม แรงดันรวมของแผง (โมดูล) จะมีค่าเท่ากับแรงดันแต่ละเซลล์บวกกัน หรือแรงดันของเซลล์ คูณด้วยจำนวนเซลล์
- ดังนั้นแผงนี้จะมีแรงดันเท่ากับ 0.5 x 36 = 18 V
ขนาดกระแสของแผงโซล่าเซลล์
- เซลล์ภายในแผง ต่อกันแบบอนุกรม กระแสรวมของแผง (โมดูล) จะมีค่าเท่าเดิม
- ดังนั้นแผงนี้จะมีกระแสเท่าเดิม คือ 7.8 A
ขนาดกำลังไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์
- คำนวณได้จาก การนำค่าแรงดันของแผง คูณกับค่ากระแสของแผง
- ดังนั้นแผงนี้จะสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เท่ากับ 18 x 7.8 = 140.8 W
ความคิดเห็น