หลายคนก็คงจะเคยตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้มาแล้วเวลาจะไปซื้อหลอดไฟ ตั้งหลักให้ดี ก่อนออกจากบ้านไปซื้อหลอดลองเงยหน้าขึ้นไปดูสักนิดก่อนว่า โคมไฟของเรา ใช้หลอดไฟแบบไหน หลอดไส้ หลอดฮาโลเจน หลอดนีออน หรือหลอดประหยัดไฟ หรือสังเกตจากขั้วหลอด ว่าขั้วหลอดที่ติดอยู่ที่โคมไฟเป็นแบบไหน เพราะว่าหลอดไฟกับขั้วหลอดต้องเป็นชนิดเดียวกัน หรืออยู่ในกลุ่มเดียวกัน ถึงจะใส่ด้วยกันได้ เช่น ถ้าขั้วหลอดเป็นตระกูล E E14, E27 ก็จะใช้กับหลอดที่ฐานเกลียว อย่างหลอดไส้ หลอดจำปา หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แต่ถ้าเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีเขี้ยวยื่นออกมาจากปลายหลอด เอาไว้สวมเข้ากับชุดรางที่มีบัลลาตและสตาร์เตอร์
ส่วนหลอดที่เป็นกลุ่มฮาโลเจน ฐานหลอดจะเป็นเขี้ยวเหมือนกันแต่จะใช้กับขั้วเฉพาะรุ่นของแต่ละหลอด เช่น หลอด G4 ก็ต้องใช้กับขั้ว G4 หลอด G9 ก็ต้องใช้กับขั้ว G9 และหลอดบางหลอดในกลุ่มฮาโลเจนต้องใช้คู่กับหม้อแปลงไฟฟ้าอีกด้วย โคมไฟแต่ละตัวอาจจะใช้จำนวนหม้อแปลงไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับจำนวนวัตต์กับจำนวนหลอดที่ใช้ จะมีสูตรคำนวนหาจำนวนวัตต์ เอาไว้หาจำนวนหม้อแปลงที่ต้องใช้
จำนวน W ของโคมไฟ X จำนวนหลอดทั้งหมด = จำนวนวัตต์ที่ใช้ทั้งหมด
ยกตัวอย่างเช่น โคมไฟ 20w. ใช้หลอดฮาโลเจน 24หลอด คำนวนด้วยสูตรที่ว่า 20 X 24 = 480 จากนั้นก็เอาจำนวนวัตต์ที่ได้ มาเลือกหม้อแปลงที่มีจำนวนวัตต์เท่ากับจำนวนวัตต์ที่คำนวนได้ ถ้าคำนวนจำนวนวัตต์ออกมาได้เป็น 480 วัตต์ ก็ต้องไปหาหม้อแปลงที่มีจำนวนวัตต์เท่ากับ 480 (จำนวนวัตต์ของหม้อแปลงต้องเท่ากันหรือมากกว่าจำนวนวัตต์ที่คำนวนได้ ถ้าหม้อแปลง 1 ตัวให้จำนวนวัตต์น้อยกว่า ก็ต้องเพิ่มหม้อแปลงเข้าไปอีก 1 ตัว เพื่อให้จำนวนวัตต์เพียงพอกับจำนวนวัตต์ที่คำนวนได้)
แต่จะว่าไปก็ไม่แปลกเท่าไหร่ที่เราจะสับสบกับการเลือกหลอดไฟเพื่อเปลี่ยนหลอดใหม่ หรือซื้อหลอดใส่โคมไฟใหม่เพราะทุกวันนี้เรามีหลอดไฟให้เลือกใช้ซะจนเลือกไม่ถูก วันนี้ลองมารู้จักหลอดไฟแต่ละชนิดกันว่า แต่ละชนิดใช้กับงานส่องสว่างแบบไหนกันบ้าง
หลอดไส้ (Incandescent)
หลอดไส้มาตรฐานหลอดไฟให้แสงสีส้มรุ่นแรกๆ ในบ้านเรา มีใช้กันมาหลายสิบปี รูปร่างหน้าตารู้จักกันดีไม่ต้องแนะนำอะไรกันมาก สมัยก่อนนิยมใช้กับงานให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย ห้องอาหาร ห้องรับแขก แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยนิมกันแล้วเพราะกินไฟมาก คายความร้อน เปิดใช้ไม่นานหลอดจะร้อน อายุการใช้งานสั้นต้อง ประมาณ 1000ชม. (แต่ใช้งานจริง อายุจะสั้นกว่า) มีหลายขนาด 3, 25, 40,100 วัตต์ ใช้คู่กับขั้วชนิด E14 หรือ E27
หลอดไส้มาตรฐานหลอดไฟให้แสงสีส้มรุ่นแรกๆ ในบ้านเรา มีใช้กันมาหลายสิบปี รูปร่างหน้าตารู้จักกันดีไม่ต้องแนะนำอะไรกันมาก สมัยก่อนนิยมใช้กับงานให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย ห้องอาหาร ห้องรับแขก แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยนิมกันแล้วเพราะกินไฟมาก คายความร้อน เปิดใช้ไม่นานหลอดจะร้อน อายุการใช้งานสั้นต้อง ประมาณ 1000ชม. (แต่ใช้งานจริง อายุจะสั้นกว่า) มีหลายขนาด 3, 25, 40,100 วัตต์ ใช้คู่กับขั้วชนิด E14 หรือ E27
แสงของหลอดไส้จะได้เปรียบหลอดชนิดอื่นตรงที่ เวลาส่องกับวัตถุต่างๆ แล้วสีของวัตถุจะไม่เพี้ยน ตามร้านเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ของประดับต่างๆ ชอบใช้กันเพราะสีสันของสินค้าจะไม่เพี้ยน และยังควบคุมปรับความเข้มของแสงด้วยตัวหรี่ไฟ (dimmer) ได้ด้วย ในตระกูลหลอดไส้ด้วยกัน ยังมีหลอดไส้หน้าตาแปลกๆ รวมอยู่อีกด้วย
- หลอดจำปาหรือหลอดเทียน (Candle shape) หน้าตาคล้ายกับดอกจำปา คนก็เลยเรียกชื่อตามรูปร่างที่มองเห็น บางคนก็เรียกหลอดเทียนเพราะรูปร่างคล้ายเปลวเทียน ส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับโคมไฟสวยงาม โคมช่อ โคมระย้า แชนเดอเลียร์สวยงาม โดยเฉพาะแชนเดอเลียร์ประดับคริสตัลหรือแก้วเป่า เพราะว่ารูปทรงสวย มีขนาดเล็ก กว่าหลอดไส้ทั่วไป
- หลอดหัวปิงปอง ( Pingpong shape) หลอดทรงกลม ให้แสงสว่างรอบด้าน สำหรับโคมไฟขนาดเล็กหรือใช้เป็นไฟประดับขนาดเล็ก จะมีจำนวนวัตต์ 25, 40วัตต์ ส่วนใหญ่จะใช้ใส่กับโคมไฟให้แสงสว่างหรือโคมประดับผนัง
- หลอดอาร์ 63, 80 หลอดไส้สะท้อนแสงกระจกบาง ใช้เน้นหรือส่องเฉพาะจุด และบริเวณที่ต้องการแสงเป็นพิเศษ หรือโคมไฟคริสตัล โคมระย้า ไฟหัวเตียง มีให้เลือกตั้งแต่ 40,60,100วัตต์ ตัวหลอดมีทั้งแบบฝ้าและแบบเคลือบปรอท
- หลอดมินิ มัชรูม รูปร่างจะคล้ายกับดอกเห็ด ตัวหลอดให้แสงกระจายขึ้นข้างบน ใช้กับโคมไฟที่ตั้งอยู่ที่พื้นแล้วส่องขึ้นข้างบน เช่น ส่องสินค้า โคมไฟ หรืองานตกแต่งสถานที่ มีขนาดวัตต์ให้เลือก 25,40,60,100วัตต์
- หลอดพาร์ (Par)38 ชื่อแบบเป็นทางการก็คือ หลอดไส้สะท้อนแสงกระจกหนาหรือหลอดพาร์38 เป็นหลอดที่ให้เอฟเฟกส์แสง มีทั้งโทนแสงสีขาวและแสงสีเหลือง แดง เขียว น้ำเงิน หน้าหลอดปิดหรือมีกระจกหนาครอบปิดกันฝน เป็นหลอดที่สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก มีทั้งขนาด 80, 120วัตต ยังแบ่งย่อยเป็นหลอดแบบ Spot หรือหลอดที่ให้ลำแสงพุ่ง กับหลอดแบบ Flood หรือหลอดที่ให้แสงกระจาย อายุการใช้งานยาวนาน หน้าหลอดครอบปิดกระจกหนาสามารถใช้งานได้ทั้งภายในและภายนอก ส่วนใหญ่จะใช้กับงานภายนอก งานไฟส่องสวนและป้ายไฟต่างๆ
หลอดฮาโลเจน Halogen
หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดที่มีการทำงานแบบเดียวกับหลอดไส้ ก็คือ กระแสไฟจะไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน จนไส้ร้อนแล้วเปล่งแสงออกมา ต่างกันตรงที่ภายในจะบรรจุก๊าซไอโอดีน คลอรีน ฯลฯ ก๊าซพวกนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานหลอดได้นานกว่าหลอดไส้ รูปร่างเป็นหลอดหรือกระเปาะที่ไส้เป็นทังสเตนเช่นเดียวกันหลอดไส้ชนิดอื่นๆ ภายในอัดก๊าซฮาโลเจน ตัวโคมรูปร่างคล้ายถ้วย ด้านในจะมีพื้นผิวสะท้อนแสง(reflector) มีทั้งแบบหน้าปิดที่ใช้กับโคมที่มีกระจกปิดหน้าและหน้าเปิดสำหรับโคมที่ไม่มีกระจกปิดหน้า
หลอดฮาโลเจน เป็นหลอดที่มีการทำงานแบบเดียวกับหลอดไส้ ก็คือ กระแสไฟจะไหลผ่านไส้หลอดที่ทำจากทังสเตน จนไส้ร้อนแล้วเปล่งแสงออกมา ต่างกันตรงที่ภายในจะบรรจุก๊าซไอโอดีน คลอรีน ฯลฯ ก๊าซพวกนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานหลอดได้นานกว่าหลอดไส้ รูปร่างเป็นหลอดหรือกระเปาะที่ไส้เป็นทังสเตนเช่นเดียวกันหลอดไส้ชนิดอื่นๆ ภายในอัดก๊าซฮาโลเจน ตัวโคมรูปร่างคล้ายถ้วย ด้านในจะมีพื้นผิวสะท้อนแสง(reflector) มีทั้งแบบหน้าปิดที่ใช้กับโคมที่มีกระจกปิดหน้าและหน้าเปิดสำหรับโคมที่ไม่มีกระจกปิดหน้า
หลอดประเภทนี้เหมาะกับการส่องสว่างเพื่อตกแต่งเน้นให้วัตถุดูโดดเด่น เป็นประกายสดใส สร้างแสงเงา ตกแต่ง เน้นวัตถุให้ดูโดดเด่น ภาพวาด ภาพถ่าย อัญมณี เครื่องประดับ เสื้อผ้าหรือสินค้าตามตู้โชว์ เป็นประกายสดใส ให้เอฟเฟคแสงพิเศษ แต่กินไฟน้อยกว่าถ้าเทียบกับหลอดไส้ชนิดอื่นๆ แต่ก็กินไฟกว่าหลอดประเภทอื่น อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้
สำหรับการเลือกใช้งานหลอดฮาโลเจน จะพิเศษกว่าหลอดอื่นๆ เนื่องจากเป็นหลอด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือหลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำ กับหลอดฮาโลเจนแรงดันทั่วไป
หลอดฮาโลเจนแรงดันต่ำ จะใช้กับไฟขนาด 12V แต่เนื่องจากไฟบ้าน เป็นไฟขนาดแรงดัน 220V เพราะฉะนั้น หลอดฮาโลเจน ขนาด12V ก็เลยไม่สามารถต่อตรงได้เลย ต้องมีหม้อแปลงเข้ามาแปลงแรงดันไฟบ้านจาก 220V ให้เหลือ 12V ก่อน ไม่อย่างนั้นถ้าต่อตรงเลย หลอดจะรับแรงดันสูงๆ แบบนั้นไม่ไหว หลอดจะเสีย หลอดประเภทนี้ เช่น หลอด G4, GY6.35, MR16, MR11
ส่วนหลอดฮาโลเจนแรงดันทั่วไป ที่ระบุว่าใช้กับไฟ 230V สามารถต่อตรงได้เลย ไม่ต้องใช้หม้อแปลง เพราะว่าตัวหลอดสามารถรับแรงดันไฟฟ้า 220V ได้ หลอดประเภทนี้ก็เช่น หลอด G9 , GU10
สรุปก็คือ หลอดฮาโลเจนที่ระบุว่า ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 12V ต้องต่อผ่านหม้อแปลงไฟฟ้า ส่วนฮาโลเจน ที่ระบุว่าใช้กับแรงดันไฟฟ้า 230V สามารถต่อตรงได้เลยไม่ต้องมีหม้อแปลง
หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent)
หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน นิยมใช้ให้แสงสว่างทั่วไปภายในและภายนอกบ้าน ให้แสงสว่างในห้องทำงาน อาคารหลังคาสูง โรงงาน ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร ถนน ในที่สาธารณะ อายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไส้ หลอดฮาโลเจน ที่จะพบได้บ่อย เช่น
- หลอด T8 มีสีให้เลือกระหว่างหลอด daylightและ warm white ขั้วที่ใช้ร่วมกันจะเป็น G13
- หลอดผอมจอมประหยัด T5 หลอดฟลูออเรสเซนต์รุ่นเล็กที่สุด แต่ให้แสงสว่างเท่ากับหลอดนีออนทั่วไป แต่กินไฟน้อยกว่าถ้าเทียบกับการใช้หลอดนีออนรุ่นเก่า มี 3 เฉดสี day light cool whiteและwarm white หลอดรุ่นนี้ใช้กับขั้ว G5
- หลอดวงกลมเหมือนโดนัท ที่ติดตั้งพร้อมโคมเพดาน มีหลายขนาด 22,32,40วัตต์ ใช้งานพร้อมชุดขั้วหลอด
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (compact fluorescent)
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดที่พัฒนาขึ้นมาแทนหลอดไส้ เพื่อให้กินไฟน้อยลง ขนาดเล็กลง แต่กำลังส่องสว่างสูงขึ้น มีทั้งหลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดทอร์นาโด หลอดไส้ แต่กินไฟน้อยกว่าหลอดชนิดอื่นๆ ข้อดีอย่างหนึ่งคือ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์สามารถใช้แทนหลอดไส้ได้เลยทันที (ถ้าจำนวนวัตต์เท่ากันหรือน้อยกว่า) ส่วนใหญ่ใช้งานให้แสงสว่างทั่วไปให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย บริเวณที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นานๆ หน้าประตูรั้ว หน้าบ้าน ในห้องทำงาน อาคารหลังคาสูง โรงงาน ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร ในที่สาธารณะ
หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ เป็นหลอดที่พัฒนาขึ้นมาแทนหลอดไส้ เพื่อให้กินไฟน้อยลง ขนาดเล็กลง แต่กำลังส่องสว่างสูงขึ้น มีทั้งหลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดทอร์นาโด หลอดไส้ แต่กินไฟน้อยกว่าหลอดชนิดอื่นๆ ข้อดีอย่างหนึ่งคือ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์สามารถใช้แทนหลอดไส้ได้เลยทันที (ถ้าจำนวนวัตต์เท่ากันหรือน้อยกว่า) ส่วนใหญ่ใช้งานให้แสงสว่างทั่วไปให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย บริเวณที่ต้องเปิดไฟทิ้งไว้นานๆ หน้าประตูรั้ว หน้าบ้าน ในห้องทำงาน อาคารหลังคาสูง โรงงาน ให้แสงสว่างภายนอกอาคาร ในที่สาธารณะ
อายุการใช้งานหลอดจะยาวนานกว่าหลอดไส้ถึง 8 เท่า และยาวนานกว่าหลอดนีออน 4เท่า มี 2 แบบ แบบมีบัลลาสต์ภายใน ใช้สวมแทนกับขั่วหลอดไส้ชนิดเกลียวได้ และแบบบัลลาต์ภายนอก ต้องมีขาเสียบกับบัลลาสต์ เช่น หลอดตะเกียบ หลอดเกลียว หลอดจะมีอยู่ให้เลือก 3 สี daylight , cool white, warm white เหมือนหลอดฟลูออเรสเซนต์
หลอด LED (Light emiting diodes)
หลอด LED (Light emiting diodes) หลอดไฟดวงจิ๋วแต่แจ๋ว ถึงจะเป็นหลอดไฟขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหลอดไฟที่มีมา แต่ให้แสงสว่างสู้กับหลอดรุ่นพี่ หลักการทำงานของหลอด LED ต่างจากหลอดไส้ เป็นหลอดไม่มีไส้ จึงไม่มีการเผาไส้หลอด หลอด LED ถึงไม่แผ่ความร้อน เพราะพลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นแสงไปหมดแล้ว แล้วก็อายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น ก็เพราะไม่มีการเผาไหม้นั่นเอง
หลอด LED (Light emiting diodes) หลอดไฟดวงจิ๋วแต่แจ๋ว ถึงจะเป็นหลอดไฟขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหลอดไฟที่มีมา แต่ให้แสงสว่างสู้กับหลอดรุ่นพี่ หลักการทำงานของหลอด LED ต่างจากหลอดไส้ เป็นหลอดไม่มีไส้ จึงไม่มีการเผาไส้หลอด หลอด LED ถึงไม่แผ่ความร้อน เพราะพลังงานส่วนใหญ่เปลี่ยนเป็นแสงไปหมดแล้ว แล้วก็อายุการใช้งานของหลอดยาวนานขึ้น ก็เพราะไม่มีการเผาไหม้นั่นเอง
หลอด LED รุ่นใหม่ๆ มีหลากหลายแบบที่มาทดแทนหลอดไฟชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหลอด LED หัวปิงปอง เปลวเทียนหรือหลอดจำปา หลอดฮาโลเจน หลอดพาร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นมาทดแทนหลอดชนิดใด สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการซื้อหลอด LED ก็คือ ความสว่างของหลอด LED แต่ละเกรด ถ้าเกรดดีๆ จะให้ความสว่างมากกว่าในจำนวนหลอดเท่ากัน ต้องการแสงลักษณะไหน แสงที่กระจุกตัวที่จุดใดจุดหนึ่งหรือแสงที่กระจายออก เพราะหลอด LED ทั่วๆ ไปแล้วจะให้แสงที่พุ่งเป็นกระจุกเหมือนเวลาที่เราเปิดไฟฉาย และเรื่องของราคา ถ้าเป็นหลอด LED จากฝั่งยุโรป คุณภาพดีๆ ราคาก็จะสูงหน่อย แต่หลอด LED ที่มีอยู่ในตลาดตอนนี้จะเป็นหลอดราคาถูกที่นำเข้าจากในเอเชียด้วยกัน
สรุปสั้นให้เข้าใจง่ายๆ กันว่า เราจะเลือกหลอดไฟแบบไหนให้เหมาะกับพื้นที่ล่ะ?
ถ้าเป็นบ้านพักอาศัยทั่วไป โรงแรม ที่ต้องการแสงสว่างในการมองเห็น ให้ใช้หลอดไส้ หลอดฮาโลเจนหรือแทนด้วยหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
หรือถ้าอยากได้บรรยกาศ อยากจะโรแมนติคบ้าง ต้องการแสงสลัวๆ สร้างบรรยากาศโรแมนติค ในห้องนอน โต๊ะอาหาร ให้เหมือนร้านอาหาร ผับบาร์ ควรใช้หลอดที่ แสงจากเทียนไข หลอดไส้ หรือโคมไฟแสงสลัวๆ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเพื่อการทำงาน เช่น ห้องทำงาน โต๊ะทำงาน ทางเดิน โถงบันได หรือหน้าบ้าน ประตูรั้ว ต้องใช้หลอดที่ให้แสงสว่างสูงๆ พวกหลอดฟลูออเรสเซนต์
หรือถ้าอยากได้บรรยกาศ อยากจะโรแมนติคบ้าง ต้องการแสงสลัวๆ สร้างบรรยากาศโรแมนติค ในห้องนอน โต๊ะอาหาร ให้เหมือนร้านอาหาร ผับบาร์ ควรใช้หลอดที่ แสงจากเทียนไข หลอดไส้ หรือโคมไฟแสงสลัวๆ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเพื่อการทำงาน เช่น ห้องทำงาน โต๊ะทำงาน ทางเดิน โถงบันได หรือหน้าบ้าน ประตูรั้ว ต้องใช้หลอดที่ให้แสงสว่างสูงๆ พวกหลอดฟลูออเรสเซนต์
นอกจากประเภทของหลอดไฟที่เราต้องรู้จักเลือกใช้แล้ว เรื่องของประะเภทของแสงที่ออกมาของหลอด พวก daylight cool white warm white ก็เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทราบเอาไว้ก่อนที่จะเลือกซื้อหลอดไฟ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ daylight, cool white, warm white โทนสีแบบไหนให้ตรงใจ? และเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและความคงทน ก็ควรทราบถึง ค่ามาตราฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำของโคมไฟ เช่น ค่า IP หรือถ้าไม่อยากใช้โคมไฟแล้วต้องเจอไฟช็อคบ่อยๆ ก็ต้องรู้จักค่ามาตราฐานการความปลอดดภัยจากไฟช็อต CLASS เปิดโคม ส่องไฟ โคมแบบไหนกันฝุ่นกันน้ำได้
รู้จักหลอดไฟกันไปแล้ว ต่อไปถ้าต้องไปเลือกซื้อหลอดไฟ ก็คงจะบอกพนักงายขายได้แล้วว่า อยากได้หลอดอะไรกันแล้ว
ที่มา : http://community.akanek.com/th/content/หลอดไฟ-เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
ความคิดเห็น