ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าสูงสุด ( Maximum Power Transfer Theorem )

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
            
             เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนกำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่าย ไปยังโหลดให้ได้กำลังงานที่โหลดมากที่สุด โหลดจะต้องมีค่าความต้านทานเท่าใด จึงจะสามารถถ่ายโอนกำลังไฟฟ้ามาได้มากที่สุด แต่ในวงจรไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าออกมา ก็จะมีค่าความต้านทานต่างๆ อยู่หลายตัว กว่าจะถ่ายโอนกำลังออกมายังโหลด
            จึงมีผู้คิดทฤษฎีการส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าสูงสุดออกมา โดยการคิดคำนวณค่าอาศัยหลักการของทฤษฎีเธวินิน คำนวณหาค่าแรงดันเธวินิน (Vth) และความต้านทานเธวินิน (Rth) นำมาเขียนเป็นวงจรสมมูลของเธวินิน เมื่อได้วงจรสมมูลของเธวินินแล้ว ก็ให้นำความต้านทานของโหลด (RL) มาต่ออนุกรมเข้าไป และคิดคำนวณว่าโหลดต้องมีค่าความต้านทานเท่าใด จึงจะทำให้มีกำลังงานเกิดที่โหลดมากที่สุด

            จากการทดลองทำให้ทราบว่า โหลดจะสามารถส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด ก็ต่อเมื่อโหลดมีค่าความต้านทานเท่ากับค่าความต้านทานเธวินิน หรือ RLRth   ดังตัวอย่าง

         จากวงจรด้านบนเป็นวงจรสมมูลเธวินิน
        1. กรณีที่เราให้โหลดมีความต้านทานเท่ากับความต้านทานเธวินิน คือ 5 เพื่อต้องการให้โหลดส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด จะคำนวณค่ากำลังของโหลดได้ ดังนี้
       หากระแสที่ไหลในวงจร

หากำลังที่โหลด
                P =I2RL
                   = 12 x 5
                   = 1 x 5
                   = 5 W
     ดังนั้นจะเห็นว่า เมื่อให้โหลดมีค่าเท่ากับความต้านทานเธวินิน  จะทำให้เกิดกำลังที่โหลด 5 W

         2. กรณีเราให้โหลดมีความต้านทานน้อยกว่าความต้านทานเธวินิน สมมติให้เท่ากับ 3 W เราจะคำนวณค่ากำลังของโหลดได้ ดังนี้
      หากระแสที่ไหลในวงจร 

หากำลังที่โหลด
                P = I2RL
                   = 1.252 x 3
                   = 1.5625 x 3
                   = 4.6875 W

        ดังนั้นจะเห็นว่า เมื่อให้โหลดมีค่าน้อยกว่าความต้านทานเธวินิน  จะทำให้เกิดกำลังที่โหลด 4.6875 W
ซึ่งน้อยกว่าให้โหลดมีค่าเท่ากับความต้านทานเธวินิน  
         
        3. กรณีเราให้โหลดมีความต้านทานมากกว่าความต้านทานเธวินิน สมมติให้เท่ากับ 8 W  เราจะคำนวณค่ากำลังของโหลดได้ ดังนี้
      หากระแสที่ไหลในวงจร


       หากำลังที่โหลด
                P = I2RL
                   = 0.772 x 8
                   = 0.5929 x 8
                   = 4.7432 W

           ดังนั้นจะเห็นว่า เมื่อให้โหลดมีค่ามากกว่าความต้านทานเธวินิน  จะทำให้เกิดกำลังที่โหลด 4.7432 ซึ่งน้อยกว่าให้โหลดมีค่าเท่ากับความต้านทานเธวินินเช่นกัน
  
            จึงสรุปได้ว่า โหลดของวงจรจะส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดเมื่อตัวมันมีค่าความต้านทานเท่ากับความต้านทานเธวินินของวงจร

สำหรับผู้ที่ต้องการทบทวนทฤษฎีของเธวินิน  คลิ๊กที่นี่


ตัวอย่าง  จากวงจรด้านล่าง จงหาว่าต้องต่อโหลดขนาดเท่าไร จึงจะได้กำลังสูงสุด และจะได้กี่วัตต์


วิธีทำ 1. หาความต้านทานเธวินิน (ช๊อตแรงดัน และปลดโหลดออก หาความต้านทานที่จุดที่ปลดโหลดออก)



          แนวทางการรวมความต้านทาน 
   
       จากรูปวงจร รวมความต้านทานได้ตามลำดับ ดังนี้
                 1. รวมความต้านทาน  Rขนานกับ  R2                   
                        2. นำความต้านทานรวมในข้อ 1 อนุกรมกับ R3     
                        3. นำความต้านทานรวมในข้อ 2  ขนานกับ R4 จะได้ความต้านทานรวมทั้งหมด คือ   Rth

         หรือนำมาเขียนเป็นสูตรทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้

          Rth  = ((R1 // R2) + R3) // R4
                  = ((30 // 30) + 15) // 15
                  = ((30 ¸ 2) + 15) // 15
                  = (15 + 15) // 15
                  = 30 // 15
                  = (30 x 15) / (30 + 15)
                  = 450 // 45
                  = 10  W

            2. หาแรงดันเธวินิน (ปลดโหลดออก หาแรงดันที่จุดที่ปลดโหลดออก)


 I  = E / R1 + (R2 // (R3 + R4))
    = 150 / 30 +(30 // (15 + 15))
    = 150 / 30 + (30 // 30)
    = 150 / 30 + (30 ¸ 2)
    = 150 / 30 + 15
    = 150 ¸ 45
    = 3.33 A
V1 = IR1
    = 3.33 x 30
    = 100 V
V2 = E - V1
     = 150 - 100
     = 50 V
VR3 + VR4 = V2
               = 50 V
      
       หา  VRโดยใช้กฎการแบ่งแรงดัน
VR4 = V2 x (R2 / (R3 + R4)
      = 50 x (15 / (15 + 15)
      = 50 x (15 / 30)
      = 50 x 0.5
      = 25 V

      หรือหา   โดยใช้คุณสมบัติการแบ่งแรงดันของวงจรอนุกรม ที่กล่าวว่า ในวงจรอนุกรมแรงดันที่ตกคร่อมจะแบ่งตามค่าของความต้านทาน และถ้าความต้านทานเท่ากันจะแบ่งเท่ากัน
      ดังนั้น ตามวงจร R3 และ R4 มีค่าเท่ากัน จึงแบ่งแรงดันที่ตกคร่อมเท่ากัน หาค่าได้ ดังนี้ 
VR4 = V/ 2  = 50 / 2 = 25 V

 Vth = VR4
      = 25 V

    3. นำ Vth  และ Rth มาเขียนวงจรสมมูลเธวินิน และนำ RL ต่ออนุกรมเข้าไป

หากต้องการให้โหลดส่งถ่ายกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด ต้องให้โหลดมีค่าเท่ากับ Rth

        ดังนั้น ต้องให้       RL = 10 W

และกำลังไฟฟ้าที่เกิดที่โหลดจะมีค่าเท่ากับ

                                     P = I2RL

    จากวงจร            I = Vth / (Rth + RL)
                                 = 25 / (10 + 10)
                                 = 25 / 20
                                 = 1.25  A

                P = 1.252 x 10
                   = 1.5625 x 10
                   = 15.625  W


ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
เนื้อหาเข้าใจง่ายดีครับ