ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประเภทของการควบคุมมอเตอร์

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

                การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถแบ่งตามลักษณะของการควบคุมได้เป็น 3 ประเภท คือ
            1. การควบคุมด้วยมือ (Manual control)
            การควบคุมด้วยมือ เป็นการสั่งงานให้อุปกรณ์ควบคุมทำงานโดยใช้ผู้ปฏิบัติงานควบคุมระบบกลไกทางกลทำงานซึ่งการสั่งงานให้ระบบกลไกทำงานนี้โดยส่วนมากจะใช้คนเป็นผู้สั่งงานแทบทั้งสิ้น ซึ่งมอเตอร์จะถูกควบคุมจากการสั่งงานด้วยมือโดยการควบคุมผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ท็อกเกิ้ลสวิทช์ เซฟตี้สวิทช์ ดรัมสวิชท์ ตัวควบคุมแบบหน้าจาน


ภาพที่ 1 แสดงการควบคุมมอเตอร์ด้วยมือ ผ่านเบรคเกอร์

            2. การควบคุมกึ่งอัตโนมัติ (Semi Automatic control)
            โดยการใช้สวิทช์กดปุ่ม ที่สามารถควบคุมระยะไกลได้ ซึ่งมักจะต่อร่วมกับสวิทช์แม่เหล็ก ที่ใช้จ่ายกระแสจำนวนมากๆ ให้กับมอเตอร์แทนสวิทช์ธรรมดาซึ่งสวิทช์แม่เหล็กนี้อาศัยผลการทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้า วงจรควบคุมมอเตอร์กึ่งอัตโนมัตินี้ต้องอาศัยคนคอยกดสวิทช์จ่ายไฟให้กับสวิทช์แม่เหล็ก สวิทช์แม่เหล็กจะดูดให้หน้าสัมผัสแตะกัน และจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ และถ้าต้องการหยุดมอเตอร์ก็จะต้องอาศัยคนคอยกดสวิทช์ปุ่มกดอีกเช่นเดิม จึงเรียกการควบคุมแบบนี้ว่า การควบคุมกึ่งอัตโนมัติ




ภาพที่ 2 แสดงสวิตซ์แม่เหล็กหรือแมกเนติก คอนแทกเตอร์ที่ใช้ในการการควบคุมกึ่งอัตโนมัติ

            3. การควบคุมอัตโนมัติ (Automatic control)
            การควบคุมแบบนี้จะอาศัยอุปกรณ์ชี้นำ คอยตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น สวิทช์ลูกลอยทำหน้าที่ตรวจวัดระดับน้ำในถัง และสั่งให้มอเตอร์หยุดเมื่อน้ำเต็มถัง สวิทช์ความดันทำหน้าที่ตรวจจับความดันลมเพื่อสั่งให้ปั๊มลมทำงาน เทอร์โมสตัททำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าตามอุณหภูมิสูงหรือต่ำ เป็นต้น วงจรการควบคุมมอเตอร์แบบนี้เพียงแต่ใช้คนกดปุ่มเริ่มเดินมอเตอร์ในครั้งแรกเท่านั้น ต่อไปวงจรก็จะทำงานเองโดยอัตโนมัติตลอดเวลา ด้วยอุปกรณ์ตรวจจับอัตโนมัติที่ได้ออกแบบติดตั้งเพิ่มเติมจากวงจรควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ ในการควบคุมตามแบบที่ 2 นั่นเอง




ภาพที่ 3 แสดงการควบคุมอัตโนมัติ ผ่านนาฬิกาตั้งเวลา

ความคิดเห็น