![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับป้องกันไฟช็อตและไฟเกินในวงจรไฟฟ้า ฟิวส์ถือเป็นอุปกรณ์เริ่มแรกที่ใช้สำหรับการป้องกันวงจรไฟฟ้า ไม่ให้เกิดอันตราย แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักฟิวส์ เพราะฟิวส์ถูกเข้ามาแทนที่ด้วยเบรคเกอร์ เนื่องจากความสะดวกสบายในการใช้งานมากกว่า คนไม่มีความรู้ก็สามารถใช้ได้ ไม่เหมือนกับฟิวส์ ที่อาจจะมีข้อยุ่งยากในการเปลี่ยนหลังจากฟิวส์ได้ทำงานป้องกันวงจรไฟฟ้าแล้ว จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ตัวใหม่ทำหน้าที่แทน เนื่องจากฟิวส์อาศัยหลักการทำงานโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการไหลของกระแสทำให้เกิดความร้อน หากกระแสไหลผ่านมากเกินขนาดของฟิวส์ ความร้อนที่เกิดจะมากพอที่จะทำให้หลอมละลายตัวเองขาดออกจากกันทำให้วงจรเปิด กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้อีกต่อไป เมื่อฟิวส์ได้ทำงานขาดออกจากกันแล้ว จึงจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนฟิวส์ตัวใหม่ทำหน้าที่ป้องกันวงจรไฟฟ้าตัวใหม่ ซึ่งต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ในการเปลี่ยน
แต่อย่างไรก็ตามฟิวส์ก็ยังมีข้อดีที่สุดอย่างหนึ่งคือ
ฟิวส์จะทำงานในการป้องกันวงจรไฟฟ้าได้ 100 % เนื่องจากใช้ความร้อนในการหลอมละลายตัวเอง
ไม่มีกลไกอย่างอื่นประกอบ ไม่เหมือนอุปกรณ์ป้องกันวงจรชนิดอื่นที่ต้องอาศัยกลไกประกอบ
จึงอาจมีโอกาสที่จะทำให้กลไกไม่ทำงานขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้อุปกรณ์นั้นไม่ทำงานเมื่อวงจรเกิดการผิดปกติขึ้น
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยที่ดี เราจึงควรมีฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าด้วย
ซึ่งในปัจจุบันเราจะใช้ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันสำหรับวงจรเมนทั้งหมด ส่วนอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ
ใช้สำหรับการป้องกันวงจรย่อย
นอกจากนี้ฟิวส์ยังมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าอย่างอื่น
ฟิวส์ทำด้วยโลหะซึ่งมีส่วนประกอบของตะกั่วร้อยละ
25
ดีบุก 25 และบิสมัท 50 ฟิวส์มีจุดหลอมเหลวต่ำ
ฟิวส์ ใช้สัญลักษณ์แทนดังภาพด้านล่าง
ภาพที่
1 แสดงสัญลักษณ์ของฟิวส์
เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
ฟิวส์จึงถูกออกแบบให้มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกัน เพื่อใช้ประกอบกับอุปกรณ์ต่างๆ
ดังนี้
1.
ฟิวส์เส้น มีลักษณะเป็นเส้นลวด ใช้สำหรับคัทเอาท์
ภาพที่ 2 แสดงฟิวส์เส้น
ภาพที่ 3 แสดงการใช้ฟิวส์เส้นร่วมกับคัทเอาท์
2. ฟิวส์แผ่นหรือฟิวส์ก้ามปู มีลักษณะเป็นแผ่นและมีขั้วสำหรับต่อคล้ายก้ามปู
ถูกออกแบบมาใช้สำหรับคัทเอาท์ ได้สะดวกขึ้น
ภาพที่ 4 แสดงฟิวส์ก้ามปู
และการใช้งานร่วมกับคัทเอาท์
จากภาพที่ 4 การใส่ฟิวส์ก้ามปู ให้คลายสกรูของคัทเอาท์จุดที่จะใส่ฟิวส์ออกก่อน
จากนั้นให้ดันด้านบนเข้าไปก่อน และสับด้านล่างเข้าไปที่สกรูให้เรียบร้อยและขันสกรูทั้งสองด้านให้แน่น
3. ลูกฟิวส์ หรือฟิวส์กระเบื้อง ใช้สำหรับปลั๊กฟิวส์
หรือคัทติฟิวส์
ภาพที่ 5 แสดง. ลูกฟิวส์ หรือฟิวส์กระเบื้อง ที่ใช้สำหรับปลั๊กฟิวส์
หรือคัทติฟิวส์
4. ฟิวส์หลอดแก้ว ใช้สำหรับป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดที่ผู้ผลิตออกแบบมาแล้ว
เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ปลั๊กไฟ เครื่องซักผ้า เป็นต้น
ภาพที่
6 แสดงฟิวส์หลอดแก้ว ใช้ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตมาจากบริษัท
5. ฟิวส์กระบอก (Cylinder Fuse) เป็นฟิวส์ที่ใช้ร่วมกับเซฟตี้สวิทซ์ ซึ่งจะเป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ใช้กระแสจำนวนมาก ฟิวส์กระบอก จะมีขั้ว 2 แบบ คือแบบใบมีด (Knife-Blade) และแบบเฟอรูล ( Ferrule) โดยต้องเลือกใช้ตามรูปแบบของเซฟตี้สวิทซ์
กรณีเกิดไฟช็อตทำให้ฟิวส์ขาด การเปลี่ยนฟิวส์
ให้เลือกซื้อฟิวส์ขนาดเดิมมาเปลี่ยน
ความคิดเห็น