![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
วงจรไฟฟ้า หมายถึงการนำโหลดทางไฟฟ้ามาต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้โหลดสามารถทำงานได้โดยใช้ตัวนำไฟฟ้าเป็นทางเดินของกระแสไฟฟ้า
ดังนั้นวงจรไฟฟ้า
ต้องประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Source)
หมายถึงแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่สามารถทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเกิดพลังงานได้
แหล่งจ่ายไฟฟ้าสามารถกำเนิดได้จาก ปฏิกิริยาเคมี แสง อำนาจแม่เหล็ก หรืออื่นๆ
2. โหลด (Load)
หมายถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานชนิดต่าง
ๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามความต้องการของเรา เช่น
เตารีดเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน
พัดลมเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล เป็นต้น
3. ตัวนำ (Conductor)
หมายถึงสายไฟฟ้าที่นำมาเชื่อมต่อวงจรให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ครบวงจร
เพื่อให้โหลดสามารถทำงานได้ โดยวงจรจะเริ่มจากการต่อสายไฟออกจากแหล่งจ่ายมายังโหลด
และต่อออกจากโหลดอีกด้านหนึ่งกลับมายังแหล่งจ่ายไฟอีกขั้ว ดังภาพ
ภาพที่ 1 แสดงวงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้าจะมีอยู่
3 ลักษณะ คือ
1. วงจรปิด (Close Circuit)
หมายถึง
วงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งจ่ายผ่านโหลดได้
และกลับมาครบวงจรที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง ทำให้โหลดสามารถทำงานได้ ดังภาพที่ 1
2. วงจรเปิด (Open Circuit)
หมายถึง วงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ เพราะอาจจะมีจุดใดจุดหนึ่งในวงจรขาดออกจากกัน
ทำให้โหลดไม่สามารถทำงานได้ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะวงจรเปิด
3.
วงจรลัด (Short
Circuit) หรือวงจรช๊อต
หมายถึง วงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลออกจากแหล่งจ่ายแต่ไม่ผ่านโหลด
และกลับมาครบวงจรที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง หรือสายไฟทั้ง 2 ด้านมาแตะกันนั่นเอง ซึ่งจะทำให้กระแสที่ไหลมีจำนวนมาก
เนื่องจากไม่มีความต้านทานจำกัดกระแส จึงอาจทำให้วงจรเกิดความเสียหายได้
หากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าอยู่ ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 แสดงลักษณะวงจรลัด
เพื่อความสะดวกในการเขียนวงจรไฟฟ้า
เราจึงนิยมเขียนแทนวงจรไฟฟ้าด้วยสัญลักษณ์ โดยโหลดไฟฟ้าเราจะแทนด้วยความต้านทาน
เนื่องจากคุณสมบัติภายในของโหลดทุกชนิด จะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ภายในเพื่อจำกัดค่ากระแสไฟฟ้าให้ไหลตามความต้องการของโหลด
โดยเราเขียนสัญลักษณ์ของวงจรได้ดังภาพด้านล่าง
ภาพที่ 4
แสดงวงจรไฟฟ้าที่เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์
ความคิดเห็น