ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สามเหลี่ยมกำลังไฟฟ้า (Power Triangle)

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
           
            ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับจะมีกำลังไฟฟ้าเกิดขึ้น 3 ชนิด คือ
1. กำลังไฟฟ้าปรากฏ (Apparent Power)
2. กำลังไฟฟ้าจริง (Real Power)
3. กำลังไฟฟ้าต้านกลับ (Reactive Power) 

        ซึ่งกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิดจะมีเฟสที่ต่างกัน คือ
กำลังไฟฟ้าปรากฏ (S) จะมีเฟสเท่ากับมุม q
กำลังไฟฟ้าจริง (P) จะมีมุมเท่ากับ 0°
กำลังไฟฟ้าต้านกลับ (Q) จะมีมุมเป็น 2 กรณี คือ  จะมีมุมเท่ากับ 90°  หากในวงจรมีเฟสนำหน้า
                         และจะมีมุม -90°  หากในวงจรมีเฟสล้าหลัง

        โดยเราสามารถนำกำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิดมาเขียนให้อยู่ในรูปสามเหลี่ยมกำลังได้ 2 ลักษณะ คือ
              1. ลักษณะเฟสนำหน้า (กระแสไฟฟ้านำหน้าแรงดันไฟ้า) 


              2. ลักษณะเฟสล้าหลัง (กระแสไฟฟ้าตามหลังแรงดันไฟฟ้า)



               ดังนั้นในการหาค่ากำลังไฟฟ้าทั้ง 3 ชนิด เราสามารถใช้ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของตรีโกณมิติมาใช้ได้ คือ

             หรือหากเราทราบค่ากำลังไฟฟ้า 2 ชนิด เราจะสามารถหากำลังไฟฟ้าที่เหลือได้นั่นเอง

              ตัวอย่างที่ 1 วงจรไฟฟ้าวงจรหนึ่ง มีค่ากำลังไฟฟ้าจริง 200 W กำลังไฟฟ้าต้านกลับ 50 Var จงหากำลังไฟฟ้าปรากฎของวงจร

         จากโจทย์ กำหนดให้

         P = 200 W
        Q = 50 Var
            
          ให้คำนวณหาค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ  ( S ) จะได้

          (200 x 200) + (50 x 50)
          = 40,000 + 2,500
          = 42,500
          = 206 VA

 ตัวอย่างที่ 2 วงจรไฟฟ้าวงจรหนึ่ง มีค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ  200 VA กำลังไฟฟ้าต้านกลับ 70 Var จงหากำลังไฟฟ้าจริงของวงจร

         จากโจทย์ กำหนดให้

        S = 200 VA
        Q = 70 Var

        ให้คำนวณหาค่ากำลังไฟฟ้าจริง  ( P )  จะได้
          (200 x 200) - (70 x 70)
          = 40,000 - 4,900
          = 35,100
          = 187 W


ความคิดเห็น