ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้


           โหลดทางไฟฟ้าไฟฟ้ากระแสสลับ มีอยู่ 3 ชนิด คือ โหลดที่เป็นความต้านทาน ( R )  โหลดที่เป็นตัวเหนี่ยวนำ ( L ) และโหลดที่เป็นตัวเก็บประจุ ( C ) ซึ่งปกติโหลดส่วนใหญ่ในวงจร จะเป็นโหลดที่เป็นความต้านทาน จะเป็นโหลดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะกำลังไฟฟ้าจะใช้ไปเป็นพลังงานให้กับโหลดอย่างเต็มที่ ไม่มีค่าความสูญเสีย หรือสูญเสียน้อยที่สุด และโหลดที่ประกอบไปด้วยตัวเหนี่ยวนำ คือขดลวดทุกอย่าง เช่น มอเตอร์ บาลาสของหลอดฟลูออเรสเซนต์ จะทำให้มีกำลังไฟฟ้าต้านกลับจากค่าความต้านทานเชิงซ้อนของขดลวด ซึ่งเป็นกำลังไฟฟ้าสูญเสีย ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานขึ้น

                ดังนั้นในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าจากโหลด L  เราสามารถทำได้โดยการต่อตัวเก็บประจุ คือตัวคาปาซิเตอร์ขนานเข้าไปในระบบ ไปหักล้างกับโหลด L ก็จะทำให้ระบบกลับมามีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการ         
           เพาเวอร์แฟกเตอร์ จะเป็นตัวบอกให้เราทราบว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเพียงใด 
           ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ จะมีค่า ตั้งแต่ 0 - 1 ไม่มีหน่วย ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ที่ดีจะมีค่า 1
           โดยปกติค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์จะเป็นแบบล้าหลัง หมายถึงโหลดจะประกอบด้วยความต้านทาน ( R ) และตัวเหนี่ยวนำ ( L )  

           การแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ทำได้โดยการต่อตัวเก็บประจุ ( C ) ขนานเข้าไปในวงจร ก็จะทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์เข้าใกล้ 1 มากขึ้นนั่นเอง


ตัวอย่างที่ 1

ภาพที่ 1 

จากวงจรในภาพที่ 1 จงหาค่า
             1. เพาเวอร์แฟคเตอร์ ( PF )
             2. จงหากำลังไฟฟ้า P, Q และ S
             3. เขียนสามเหลี่ยมกำลัง
             4. ถ้าต้องการให้ PF มีค่าเท่ากับ 0.9 จะต้องใช้ตัวเก็บประจุขนาดเท่าใดต่อขนานกับวงจร

วิธีทำ 


q  = 45°   ล้าหลัง    ( ค่า  q  คือค่ามุมของ Z )

1. เพาเวอร์แฟคเตอร์  


2. หากำลังไฟฟ้า P, Q และ S
     หาค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎ
        จากสูตร         S = EI    
                             = 60 x 2.12
                             = 127.2 VA
 
    หาค่ากำลังไฟฟ้าจริง
        จากสูตร        P = EIcosq  
                             =  60 x 2.12 x cos45°
                             = 127.2 x 0.707
                             = 89.93 W

หาค่ากำลังไฟฟ้าต้านกลับ
        จากสูตร        Q = EIsinq  
                             =  60 x 2.12 x sin45°
                             = 127.2 x 0.707
                             = 89.93 VAR

3. เขียนสามเหลี่ยมกำลัง

ภาพที่ 2 สามเหลี่ยมกำลังของวงจร ภาพที่ 1

4. ถ้าต้องการให้ PF มีค่าเท่ากับ 0.9 จะต้องใช้ตัวเก็บประจุขนาดเท่าใดต่อขนานกับวงจร


             การแก้เพาเวอร์แฟคเตอร์ สามารถทำได้โดยการต่อตัวเก็บประจุขนานเข้าไปในวงจร ดังภาพด้านล่าง

ภาพที่ 3 เพิ่มตัวเก็บประจุเพิ่มในวงจรเดิม

            เมื่อต่อตัวเก็บประจุเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดกำลังไฟฟ้าต้านกลับจากค่าตัวเก็บประจุ ซึ่งจะไปหักล้างกับค่ากำลังไฟฟ้าต้านกลับที่เกิดจากตัวเหนี่ยวนำของวงจรเดิมทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์เข้าใกล้ 1 มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งค่าของตัวเก็บประจุที่จะทำให้ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของวงจรมีค่าตามที่เราต้องการสามารถหาได้ดังนี้

          จากวงจรเดิม
                  PF = 0.707
                   q = 45°

         ต้องการปรับให้
                  PF = 0.9

         หาค่ามุมของเฟสใหม่ จะได้     
    PF = cosqʼ
                      \  cosqʼ = 0.9
                                     qʼ = cos-1 0.9
                                     = 25.84°  ล้าหลัง

เขียนสามเหลี่ยมกำลังใหม่เปลี่ยนจากเดิมได้ดังนี้


จากสามเหลี่ยมกำลังด้านบน จะเห็นว่า
           กำลังไฟฟ้าจริงจะมีค่าเท่าเดิม
\  Pʼ = P = 89.93 W

        จากกำลังไฟฟ้าจริงใหม่ Pʼ ) จะสามารถหาค่ากำลังไฟฟ้าปรากฎใหม่  Sʼ ) ได้จากสูตร
             Pʼ  = Sʼ cosqʼ



        จากกำลังไฟฟ้าปรากฎใหม่  Sʼ ) จะสามารถหาค่ากำลังไฟฟ้าต้านกลับใหม่  Qʼ )  ได้จากสูตร  

Qʼ = Sʼsinqʼ
    = 99.92 x sin25.84°
    = 99.92 x 0.436
    = 43.57 VAR

หรือหา ได้จากสามเหลี่ยมกำลังตามทฤษฎีพีธากอรัส


         ดังนั้น กำลังไฟฟ้าต้านกลับที่ตัวเก็บประจุต้องสร้างขึ้นมาเพื่อไปหักล้างกับกำลังไฟฟ้าต้านกลับเดิม จะเท่ากับ
              QC = Q - Qʼ
                   = 89.93 - 43.57
                   = 46.36 VAR

            ซึ่งกำลังไฟฟ้าต้านกลับที่ตัวเก็บประจุนี้ จะมีค่าเท่ากับกำลังไฟฟ้าปรากฏที่ตัวเก็บประจุด้วย  เนื่องจากกำลังไฟฟ้าในวงจรที่มีเฉพาะตัวเก็บประจุตัวเดียวจะเกิดกำลังไฟฟ้า 2 ชนิดเท่านั้น คือ กำลังไฟฟ้าปรากฏ ( S ) และกำลังไฟฟ้าต้านกลับ ( Q ) และจะมีขนาดเท่ากัน


          ดังนั้นเราจะสามารถหากระแสที่ไหลผ่านตัวเก็บประจุที่ต่อเข้าไปในวงจรได้ ดังนี้


          เมื่อรู้ค่า   IC  ก็จะสามารถหาค่า XC ได้ ดังนี้

              เมื่อรู้ค่า   XC  ก็จะสามารถหาค่า C ได้ ดังนี้


                    เพราะฉะนั้น หากเราต้องการปรับค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ของวงจรให้เป็น 0.9 เราต้องใส่ตัวเก็บประจุขนาด 34.19 mF ขนานเข้าไปในวงจร ดังภาพที่ 3




     


ความคิดเห็น