ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กำลังไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้
              
             ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ ค่ากำลังไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

              1. กำลังไฟฟ้าปรากฏ (Apparent Power) เป็นกำลังไฟฟ้าที่เกิดจากการนำค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรและแรงดันไฟฟ้าในวงจรมาคูณกัน ซึ่งจะเป็นกำลังไฟฟ้าทั้งหมดที่แหล่งจ่ายจ่ายให้กับโหลด
              กำลังไฟฟ้าปรากฏ เราจะใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว S มีหน่วยเป็น โวล์ตแอมป์ (VA)
              สามารถหาค่าได้จากสูตร
                         S = EI    
                เมื่อ    S = กำลังไฟฟ้าปรากฏ มีหน่วยเป็น โวล์ตแอมป์ (VA)
                         E = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น V
                         I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น A

              2. กำลังไฟฟ้าจริง (Real Power, True Power) เป็นกำลังไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจริงที่โหลด ( R ) ซึ่งเป็นกำลังที่เกิดขึ้นที่โหลดสามารถวัดได้โดยวัตต์มิเตอร์ หรือได้จากการคำนวณโดยการนำค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และค่า cos ของมุมที่ต่างเฟสกันของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า มาคูณกัน
              กำลังไฟฟ้าจริง เราจะใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว P มีหน่วยเป็น วัตต์ (W)
              สามารถหาค่าได้จากสูตร 
                        P = EIcosq   
                เมื่อ    P = กำลังไฟฟ้าจริง มีหน่วยเป็น วัตต์ (W)
                         E = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น V
                         I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น A
                        q = มุมต่างเฟสของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าในวงจร

               หรือสามารถหาได้จาก สูตร
                       P = (IR)2R
               เมื่อ IR = กระแสที่ไหลผ่านความต้านทาน
                      R = ค่าความต้านทานของตัวต้านทานในวงจร

              3. กำลังไฟฟ้าต้านกลับ (Reactive Power) เป็นกำลังไฟฟ้าที่เกิดจากผลของโหลดที่เป็นตัวเหนี่ยวนำหรือโหลดที่มีส่วนประกอบจากขดลวด และโหลดที่เป็นตัวเก็บประจุ เนื่องจากโหลดทั้งสองชนิดจะมีค่าความต้านทานเชิงซ้อนเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ และความต้านทานเชิงซ้อนดังกล่าวจะทำให้แรงดันและกระแสไฟฟ้าเกิดการต่างเฟสกันขึ้นทำให้เกิดเป็นกำลังไฟฟ้าที่ไม่ก่อให้เกิดกำลังงาน หรือไฟฟ้าสูญเสียนั่นเอง
             กำลังไฟฟ้าต้านกลับ เราจะใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัว Q มีหน่วยเป็น วาร์ (VAR)
             สามารถหาค่าได้จากสูตร 
                        Q = EIsinq
                เมื่อ    Q = กำลังไฟฟ้าต้านกลับ มีหน่วยเป็น วาร์ (VAR)
                         E = แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น V
                         I = กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น A
                        q = มุมต่างเฟสของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้าในวงจร


ตัวอย่างที่ 1  การหาค่ากำลังไฟฟ้าในวงจรอนุกรม
จากวงจรไฟฟ้า จงหากำลังไฟฟ้า P, Q และ S


วิธีทำ
1. หาค่ากระแสของวงจร

  E = 40 Ð0° V





          I = 0.8 Ð-53° A

2. หามุมต่างเฟสกันของแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า ( q )

จากค่ากระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า นำมาเขียนเฟสเซอร์ไดอะแกรม จะได้ดังภาพด้านล่าง


จะเห็นว่าแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าจะมีมุมห่างกัน อยู่ 53 องศา โดยกระแสไฟฟ้าจะตามหลังแรงดันไฟฟ้า แสดงว่าวงจรนี้จะมีเฟสล้าหลัง
           ดังนั้น เราจะได้มุมต่างเฟสกันของแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้า
           q = 53°  ล้าหลัง


นอกจากนี้ เราสามารถหาค่า cosq   ได้จากสูตร 
          cosq  = R / Z
                   = 30 / 50
                   = 0.6

    จากนั้น หาค่า
          cosq  = 0.6
                   q  = cos-1 0.6

                  = 53°   ล้าหลัง เนื่องจากในวงจรมีค่า  XL มากกว่า XC

หรือสามารถหาได้จาก

                    = 53°    ล้าหลัง เนื่องจากในวงจรมีค่า  XL มากกว่า XC

3. เมื่อเราทราบค่า E, I และ q  เราก็จะสามารถหากำลังไฟฟ้าต่างๆ ของวงจรได้ ต่อไปดังนี้
   หาค่ากำลังไฟฟ้าปรากฏ
        จากสูตร        S = EI    
                             = 40 x 0.8
                             = 32 VA


    หาค่ากำลังไฟฟ้าจริง
        จากสูตร        P = EIcosq  
                             =  40 x 0.8 x cos53°
                             = 32 x 0.6
                             = 19.2 W

    หาค่ากำลังไฟฟ้าต้านกลับ
        จากสูตร        Q = EIsinq  
                             =  40 x 0.8 x sin53°
                             = 32 x 0.8

                             = 25.6 VAR

ตัวอย่างที่ 2  การหาค่ากำลังไฟฟ้าในวงจรขนาน

            จากวงจรไฟฟ้า จงหากำลังไฟฟ้า P, Q และ S

ขออภัยกำลังดำเนินการ

ความคิดเห็น