![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
พลังงานไฟฟ้า หมายถึง กำลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ไปต่อหน่วยเวลา ในที่นี้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็นหน่วย หรือยูนิต โดยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป 1 หน่วย มีค่าเท่ากับการใช้กำลังไฟฟ้า 1,000 วัตต์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ( KW-h )
การคิดค่าพลังงาน
เพื่อใช้ในการเก็บเงินค่าใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า จากผู้ใช้ไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าใช้เครื่องวัดที่เรียกว่า กิโลวัตต์-ฮาวมิเตอร์ ( kW-h ) ต่อให้ระบบไฟฟ้าไหลผ่านเครื่องวัดเพื่อวัดค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป
ตัวอย่าง
การคิดค่าพลังงานไฟฟ้า
จงหาจำนวนหน่วยของการใช้ไฟฟ้าต่อเดือน
ของบ้านหลังหนึ่ง เมื่อมีเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังต่อไปนี้
1. หลอดไฟฟ้า ขนาด 45 วัตต์
จำนวน 5 หลอด ใช้วันละ 4 ชั่วโมง
2. ตู้เย็น ขนาด 250 วัตต์
จำนวน 1 หลัง
3. เครื่องซักผ้า ขนาด 300
วัตต์ ใช้วันละ 1ชั่วโมง 30 นาที
4. โทรทัศน์ ขนาด 250 วัตต์
ใช้วันละ 5 ชั่วโมง
หากการไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้า หน่วยละ 4
บาท จงคำนวณหาค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายต่อเดือน
วิธีการคิด
ขั้นตอนที่ 1 คิดพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้แต่ละชนิด ใน 1 วัน
สูตรในการคิด
พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ = วัตต์ของครื่องใช้ไฟฟ้า x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น x จำนวนเวลาที่ใช้ต่อวัน (ชั่วโมง)
ดังนั้นตามตัวอย่าง จะสามารถหาพลังงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ต่อวัน ดังนี้
1. พลังงานที่ใช้ไปของหลอดไฟ ต่อวัน
=
45 x 5 x 4 = 900 วัตต์ – ชั่วโมง
2. พลังงานที่ใช้ไปของตูเย็น ต่อวัน
=
250 x 1 x 24 = 1,200 วัตต์ – ชั่วโมง
- ตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องเสียบปลั๊กไฟตลอดเวลา จึงคิดจำนวนชั่วโมง 24 ชั่วโมงต่อวัน
- ตามความเป็นจริง แม้ตู้เย็นจะเสียบปลั๊กอยู่ตลอดเวลา แต่จะตัดและต่อวงจรอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน และช่วงเวลาในการตัดต่ออาจจะแตกต่างกันไปตามค่าหรือตัวแปรต่างๆ อีกหลายอย่าง ดังนั้นการคำนวณนี้จึงเป็นการคำนวณเพื่อหาค่าโดยประมาณเท่านั้น
3. พลังงานที่ใช้ไปของเครื่องซักผ้า ต่อวัน
=
300 x 1 x 1.5 = 450 วัตต์ – ชั่วโมง
4. พลังงานที่ใช้ไปของโทรทัศน์ ต่อวัน
=
250 x 1 x 5 = 1,250 วัตต์
– ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 2 นำพลังงานของเครื่องใช้แต่ละชนิดมารวมกัน
รวมพลังงานทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไปทั้งหมดต่อวัน
= หลอดไฟ + ตู้เย็น + เครื่องซักผ้า + โทรทัศน์
=
900 + 1,200 + 450 + 1,250
= 3,800 วัตต์
– ชั่วโมง
ขั้นตอนที่ 3 นำค่าในขั้นตอนที่ 2 มาเปลี่ยนเป็นหน่วย หรือยูนิต เพื่อคิดค่าไฟฟ้า
1 หน่วยทางไฟฟ้า มีค่า 1,000
วัตต์ – ชั่วโมง
\ ใช้ไฟไปต่อวัน = 3,800 / 1,000
= 3.8 หน่วย ต่อวัน
ขั้นตอนที่ 4 นำค่าพลังงานที่ใช้ต่อวัน มคำนวณเพิ่มเป็นต่อเดือน (1 เดือนคิด 30 วัน)
เวลา 1 เดือน ใช้ไฟฟ้าไป =
3.8 x 30 = 114 หน่วย
ขั้นตอนที่ 5 นำค่าพลังงานที่ใช้ต่อเดือนมาคิดราคาค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทั้งหมด
คิดค่าไฟฟ้า หน่วยละ 4 บาท
ดังนั้นต้องจ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน = 114 x 4 = 456 บาท ตอบ
หมายเหตุ การคำนวณนี้เป็นการคำนวณโดยประมาณเท่านั้น เนื่องจากในการใช้งานจริง จะมีตัวประกอบที่มีผลต่อการคำนวณอีกหลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถจะกำหนดหรือควบคุมได้
ความคิดเห็น
พอดีอยากทราบว่า
X24 ของตู้เย็น และ
X1.5 ของโทรทัศน์
ใช้วิธีคิดอย่างไรครับ
เลขตัวแรก เป็นขนาดวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า
เลขตัวที่สอง คือ จำนวนของเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น
เลขตัวที่ 3 คือ จำนวนชั่วโมงที่เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นใช้งานใน 1 วัน
ส่วน X คือเครื่องหมายคูณ โดยนำค่าตัวเลขทั้ง 3 มาคูณกัน
ดังนั้นที่สอบถาม X 24 หมายถึงตู้เย็นเราเสียใช้ไฟทั้งวัน จึงคูณด้วย 24 ชั่วโมง (ตามความจริงอาจไม่ถึง 24 ชั่วโมง เพราะคู้เย็นมีการตัดต่อตลอดเวลา) ส่วน X 1.5 หมายถึง เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที แทนด้วย 1.5 (เนื่องจาก 1 ชั่วโมง เท่ากับ 60 นาที ดังนั้น 30 นาที จึงมีค่าเท่ากับครึ่งชั่วโมง แทนด้วยตัวเลขเท่ากับ 0.5 หนึ่งชั่วโทง 30 นาที่ จึงเท่ากับ 1.5 ชั่วโมง)