ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วงจรความต้านทานแบบอนุกรม

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

วงจรความต้านทานแบบอนุกรม

               การต่อความต้านทานแบบอนุกรมสามารถต่อได้โดยการนำปลายของตัวต้านทานตัวแรก ต่อเข้ากับต้นของตัวต้านทานตัวที่สอง นำปลายของตัวต้านทานตัวที่สองต่อเข้ากับต้นของตัวต้านทานตัวที่สาม และต่อในลักษณะนี้ไปจนถึงตัวสุดท้าย ก็จะเหลือต้นของตัวต้านทานตัวแรก และปลายของตัวต้านทานตัวสุดท้าย นำไปต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟฟ้า ตามภาพด้านล่าง

           
   ในการต่อตัวต้านทานแบบอนุกรม เราจะสามารถหาค่าต่างๆ  ในวงจรได้ ดังนี้

         1. ความต้านทานรวม (Rt)
            ความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมจะมีค่าเพิ่มมากขึ้น โดยการนำค่าความต้านทานที่ต่ออนุกรมกันมาบวกกัน ดังนั้นหากเราต่อความต้านทานเพิ่มเข้าไปในวงจรแบบอนุกรมจะยิ่งทำให้ค่าความต้านทานรวมมีค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
            ค่าความต้านทานรวมของวงจรสามารถหาได้จากสูตร
                Rt = R1 + R2 + R3 + … + RN
เมื่อ  Rt = ค่าความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจร
       R1 = ค่าความต้านทานตัวที่ 1
       R2 = ค่าความต้านทานตัวที่ 2
       R3 = ค่าความต้านทานตัวที่ 3
       RN = ค่าความต้านทานตัวสุดท้าย

ตัวอย่าง  จากวงจรด้านบน จงหาค่าความต้านทานรวมของวงจร 
            จากวงจร ตัวต้านทานต่ออนุกรมกัน 4 ตัว  เขียนสูตรได้ว่า
                    Rt = R1 + R2 + R3 + R4
         ค่าความต้านทานในวงจร มีค่าดังนี้
                 R1 = 30 W       
                 R2 = 10 W
                 R3 = 15 W
                 R4 = 20 W                                                                                     
                       แทนค่าในสูตร  จะได้
         Rt = 30 + 10 + 15 + 20

             = 75 W            ตอบ



2. กระแสไฟฟ้าของวงจร (I)
                    กระแสไฟฟ้าของวงจรความต้านทานแบบอนุกรม จะมีเพียงจำนวนเดียวเท่ากันทั้งวงจรตั้งแต่ออกจากแหล่งจ่าย ผ่านตัวต้านทานต่าง ๆ ที่ต่ออนุกรมกันอยู่ไปจนถึงตัวสุดท้ายและกลับเข้าสู่แหล่งจ่ายอีกครั้ง เนื่องจากวงจรอนุกรมมีทางเดินให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้เพียงทางเดียวเท่านั้น
              ค่ากระแสไฟฟ้าในวงจรความต้านทานแบบอนุกรม หาได้จากสูตร
                                    I =  Et / Rt
                    เมื่อ  I = ค่ากระแสในวงจรอนุกรม
                     Et = แรงดันทั้งหมดที่จ่ายให้กับวงจร
                     Rt = ค่าความต้านทานรวมทั้งหมดของวงจร
   ตัวอย่าง  จากวงจรด้านบน จงหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจร
              จากวงจรด้านบน สามารถหาค่ากระแสในวงจรได้จากสูตร
                           I =  E1 / Rt              
               จากวงจร E1 = 150 V
                          Rt = 75 W
                     แทนค่าในสูตร  จะได้
                                     I = 150 / 75
                              = 2 A      ตอบ


3. แรงดันไฟฟ้าของวงจร ( E )
                    แรงดันไฟฟ้าของวงจรความต้านทานแบบอนุกรมที่จ่ายออกไปในวงจร จะตกคร่อมที่ตัวต้านทานต่างๆ โดยแรงดันที่ตกคร่อมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้นๆ  
              โดยสามารถหาค่าแรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานได้จากกระแสที่ไหลในวงจรคูณด้วยค่าความต้านทานของตัวต้านทานนั้น หรือเขียนเป็นสูตรได้ว่า
                 Vn = IRn
           เมื่อ
                 Vn = แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานที่เราต้องการทราบค่า
                  I = กระแสที่ไหลในวงจรอนุกรมนั้น
                 Rn = ค่าความต้านทานของตัวต้านทานที่เราต้องการทราบแรงดันตกคร่อม
เช่นเราจะหาค่าแรงดันตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 2 จะได้สูตร ดังนี้
                 V2 = IR2
               และผลบวกของแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานทุกตัวจะเท่ากับแรงดันที่จ่ายให้กับวงจรอนุกรมนั้น โดยเขียนเป็นสูตรได้ว่า
                      Et = V1 + V2 + V3 +…+ Vn
                เมื่อ
                 Et = แรงดันทั้งหมดที่จ่ายให้วงจรอนุกรม
                 V1 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 1
                 V2 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 2
                 V3 = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 3
                 Vn = แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานตัวสุดท้าย


ตัวอย่าง  จากวงจรด้านบน จงหาค่าแรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานแต่ละตัว  
            
               ค่าที่ทราบจากวงจร
           R1 = 30 W  , R2 = 10 W  , R3 = 15 W  ,  R4 = 20 W
               ค่าที่ได้จากการคำนวณ
                  I = 2 A
วิธีทำ
            แรงดันตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 1
                    V1 = IR1
                        = 2 x 30
                        = 60 V

            แรงดันตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 2
                    V2 = IR2
                        = 2 x 10
                        = 20 V

            แรงดันตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 3
                    V3 = IR3
                        = 2 x 15
                        = 30 V

            แรงดันตกคร่อมความต้านทานตัวที่ 4
                    V4 = IR4
                        = 2 x 20
                        = 40 V

ตรวจสอบคำตอบ
                     E1 = V1 + V2 + V3 + V4
                   150 = 60 + 20 + 30 + 40

                   150 = 150    ถูกต้อง
     

ความคิดเห็น