ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ไดโอด

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้

              ไดโอด (Diode) 

ไดโอดคืออะไร


ไดโอดทำหน้าที่อะไร



            เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ยอมให้กระแสไหลผ่านตัวไดโอดได้ทิศทางเดียวเท่านั้น ไดโอดผลิตจากสารกึ่งตัวนำ P และ N นำมาต่อกัน ไดโอดโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ขา คือ ขา A (อาโนด) และ ขา K (คาโทด) 



ที่ตัวไดโอดจะแสดงขีดสีขาวซึ่งแสดงสัญญลักษณ์ของขา K


         การต่อไดโอด

ไดโอดนั้นจะมีการต่อวงจรได้ 2 แบบดังนี้ คือ 
การต่อแบบไบอัสตรง ถ้าต่อแบบนี้จะมีกระแสไหลผ่านตัวไดโอด 
การต่อแบบไปอัสกลับ ถ้าต่อแบบนี้กระแสจะไม่ไหลผ่านตัวไดโอด ถือว่าไดโอดเปิดวงจร และมีค่าความต้านทานสูงมาก

           รายละเอียดเกี่ยวกับตัวไดโอด 

ไดโอดโดยทั่วไปจะบอกรายละเอียดว่าตัวมันนั้นสามารถรับกระแส และแรงดันได้มากน้อยต่างกัน ตัวอย่าง เช่น 


แรงดันคือ ตัวไดโอดเองรับแรงดันสูงสุดได้ที่เท่าไร เช่น 1N4001 สามารถรับแรงดันสูงสุด 50V หากมากกว่านี้จะเกิดความเสียหาย 
กระแสคือ ตัวไดโอดสามารถทนกระแสได้ที่กี่แอมแปร์ เช่น 1N4001 - 1N4007 สามารถให้กระแสไหลผ่านตัวมันได้สูงสุด 1A หากมากกว่านี้จะเกิดความเสียหาย 


             ดังนั้นการเลือกใช้งานต้องคำนึงถึง แรงดันและกระแสที่ตัวมันเองได้ แต่เราสามารถใช่ไดโอดที่มีแรงดัน และ กระแส สูงกว่าตัวมันได้ครับ 

** อ่านสักหน่อยครับ โดยปกติแล้ว การกำหนดค่าแรงดัน และกระแสของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนมากที่ระบุมานั้น จะเป็นค่าที่ตัวอุปกรณ์นั้นๆรับได้สูงสุดครับ ถ้ามากกว่านี้จะเกิดความเสียหายได้ แต่ในบางอุปกรณ์ เช่น รีเลย์ หรือ ไอซี อาจจะต้องใช้แรงดันให้ตรงกับที่ระบุ ไม่งั้นอุปกรณ์จะไม่ทำงาน หากใช้มากกว่า อุปกรณ์นั้นจะพัง อย่างไร คงต้องศึกษาคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละชนิดด้วยนะครับ ** 

            การใช้งานไดโอด

            ไดโอดเมื่อนำไปต่อกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีแรงดันตกคร่อมที่ตัวมันประมาณ 0.6 V ครับ บางครั้งในการคำนวณ เพื่อนำไปใช้งานต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วย


              โดยทั่วไปนั้นเราจะใช้งานไดโอดที่เป็นกันบ่อยๆคือ

            1. การใช้เป็นวงจรเรียงกระแสแบบต่างๆ เนื่องจากคุณสมบัติของไดโอดจะยอมให้กระแสไหลผ่านทางเดียวดังนั้นเราจะเห็นการใช้งานไดโอดในวงจรเรียงกระแสคือเปลี่ยนจากแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ไปเป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง ( ส่วนเรื่องวงจรเรียงกระแสแบบต่างๆจะได้เสนอในบทความตอนต่อไปครับ)


             2. การใช้ป้องกันกระแสย้อนกลับหรือป้องกันการต่อผิดขั้วของวงจรไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางตัวจะต้องป้อนแรงดันให้ถูกขั้วหากเราต่อขั้วไฟฟ้าผิดจะเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นการต่อตัวไดโอดไว้เพื่อ ป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการดีอย่างยิ่งครับ




            3. วงจรทวีแรงดัน เราจะใช้งานไดโอดร่วมกับตัวเก็บประจุ ซึ่งสามารถต่อเป็นวงจรทวีแรงดันแบบต่างๆได้


            4. ใช้ในวงจรขลิบสัญญาณ ทางไฟฟ้า วงจรขลิบสัญญาณคือวงจรที่เปลี่ยนสถานะของสัญญาณทางขาเข้า และขาออกให้มีลักษณะเหมือนโดนตัดบางส่วนออกไป


ไดโอดแบบบริด



              ไดโอดแบบนี้จะใช้ในวงจรเรียงกระแส แทนที่เราจะใช้ได้โอด 4 ตัว ทำการต่อกัน เราสามารถใช้ไดโอดแบบบริด แทนได้ครับ เพราะภายในตัวไดโอดแบบนี้จะทำการต่อไดโอด 4 ไว้ภายในเรียบร้อยแล้ว การใช้งานจึงสะดวก ยิ่งขึ้น (รายละเอียดจะกล่าวในส่วนของวงจรเรียงกระแสครับ) 

              กลุ่มไดโอดชนิดอื่น ไดโอดที่กล่าวมาข้างตันจะเป็นไอดแบบทั้วไปแต่จะมีอุปกรณ์ในกลุ่มไดโอดอีกหลายตัวเช่น 
ซีเนอร์ไดโอด ซึ่งจะทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันให้คงที่ 
โพโต้ไดโอด จะทำหน้าที่ในเครื่องรีโมทคอนโทรลต่างๆ 
LED หรือ ไดโอดแปล่งแสง ซึ่งจะให้แสงสีต่างๆเมื่อป้อนไฟให้กับตัวมัน (บทความนี้เขียนไว้แล้วครับ) 
7- Segment หรือ ตัวแสดงผล 7 ส่วน ซึ่งภายในคือ LED นั้นเอง จะใช้แสดงผลเป็นตัวเลขได้ 
** อุปกรณ์ที่ผ่านมาจะเขียนเป็นบทความในตอนต่อๆไปครับ 



            การตรวจสอบไดโอด 


            การตรวจสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์ ซึ่งสามารถตรวจสอบไดโอดปกติ ไดโอดซอร์ต และไดโอดขาดได้ โดยเราต้องตั้งย่านวัดของมัลติมิเตอร์ไปที่ X1 กันก่อน แล้วทำการวัดโดยการสลับสายการวัดด้วยผลที่ได้คือ


ไดโอดปกติเข็มขึ้น1ครั้ง เข็มไม่ขึ้น 1 ครั้ง




ไดโอดชอร์ตเข็มจะขึ้นทั้ง 2 ครั้ง




ไดโอดขาดเข็มจะไม่ขึ้นทั้ง 2 ครั้ง

ที่มา : http://www.semi-shop.com/knowledge/knowledge_detail.php?sk_id=22

ความคิดเห็น