ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การต่อระบบสายดิน

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้


การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (System grounding)
              เป็นการต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบไฟฟ้าที่มีกระแสไหลผ่าน เช่น จุดศูนย์ (Nuetral) ลงดิน

จุดประสงค์ของการต่อลงดิน
     1. จำกัดแรงดันเกินของระบบไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดจากฟ้าผ่า, เสีร์จในสายหรือสัมผัสกับสายแรงสูงโดยบังเอิญ
     2. ให้ค่าแรงดันเทียบกับดินขณะระบบทำงานปกติมีค่าคงตัว
     3. ช่วยให้อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินทำงานได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดการลัดวงจรลงดิน

การต่อลงดินในระบบไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
     1. ระบบที่มีแรงดันต่ำกว่า 50 โวลท์
     2. ระบบที่มีแรงดันระหว่าง 50 - 1000 โวลท์
     3. ระบบที่มีแรงดัน 1000 โวลท์ขึ้นไป
กรณีที่ใช้ระบบแรงดันระหว่าง 50 - 1000 โวลท์ ซึ่งพบเห็นกันมากที่สุดมีรูปแบบการต่อลงดิน  ดังรูป
   




ระบบ 1 เฟส 2 สาย
   

   ระบบ 1 เฟส 3 สาย



ระบบ 3 เฟส 4 สาย



ขนาดสายดินของระบบ (System grounding conductor)
     ให้พิจารณาตามขนาดสายเมน (ทองแดง) เข้าอาคารซึ่งเป็นไปตามกฏของการไฟฟ้าทั้ง กฟน. และ กฟภ. ดังตาราง
ขนาดใหญ่สุดของสายเมนทองแดง ; sq.mm
ขนาดเล็กสุดของสายดินทองแดง ; sq.mm
ไม่เกิน 35
35 - 50
70 - 95
120 - 185
240 - 300
400 - 500
เกิน 500
10
16
25
35
50
70
95

คำแนะนำ สำหรับสายดินขนาด 10 ตร.มม แนะนำให้ติดตั้งในท่ออาจเป็นท่ออโลหะ หรือท่อโลหะหนา , หนาปานกลาง หรือท่อโลหะบาง

การต่อลงดินที่เมนสวิตซ์ (Service Equipment Grounding)

            เป็นการต่อโครงโลหะและสายศูนย์ที่เมนสวิตซ์ลงดิน โดยเมนสวิตซ์จะเป็นจุดรวมสายดินซึ่งประกอบด้วย
     1. สายดินอุปกรณ์ (Equipment Grounding Conductor)
     2. สายที่มีการต่อลงดิน (Grounded Conductor)
     3. สายต่อฝากหลัก (Main Bonding Jumper)
     4. สายต่อหลักดิน (Grounding Electrode Conductors)






การต่อลงดินของเมนสวิตซ์ต้องทำด้านไฟเข้าเสมอ
ถ้าหากสถานประกอบการนั้นรับไฟผ่านหม้อแปลงที่ติดตั้ง นอกอาคารซึ่งมีกำแพงกั้นจะต้องมีการต่อลงดิน 2 จุดคือ หม้อแปลง 1 จุด และที่เมนสวิตซ์อีก 1 จุด

            ในส่วนของการต่อฝากหลักซึ่งเป็นการต่อโครงโลหะของเมนสวิตซ์เข้ากับตัวนำที่มีการต่อลงดินที่อาจเป็นบัสบาร์สายดิน, บัสบาร์สายศูนย์ หรือสายศูนย์ มีจุดประสงค์เพื่อนำกระแสรั่วไหลที่อาจเกิดจากการเหนี่ยวนำที่เมนสวิตซ์ลงดิน เพื่อป้องกันอันตรายแก่บุคคล ที่ไปสัมผัส กับส่วนที่เป็นโลหะของเมนสวิตซ์นั้น อีกทั้งยังนำกระแสลัดวงจรไปยังแหล่งจ่ายไฟ เมื่อเกิดลัดวงจรขึ้นทางด้านโหลดอีกด้วย สำหรับการต่อลงดินของบ้านพักอาศัยทั่วไปสามารถทำได้ทั้งที่เป็นแผงคัทเอ๊าท์ และแผงคอนซูมเมอร์ยูนิต

กรณีที่เมนสวิตซ์เป็นแผงคัทเอ๊าท์
             ให้ต่อสายดินออกจากสายนิวทรัลด้านไฟเข้าดังรูป สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่ใช้สายเมนทองแดงขนาดไม่เกิน 35 ตร.มม เดินเข้าแผงคัทเอ๊าท์ ให้ใช้สายดินทองแดงขนาด 10 ตร.มม (สาย THW) ส่วนสายเมนที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ให้เป็นไปตามค่า ที่กำหนดในตารางข้างบน
 

กรณีที่แผงสวิตซ์เป็นคอนซูมเมอร์ยูนิต (Consumer Unit)
               ให้เดินสายนิวทรัลไปพักไว้ที่ขั้วต่อสายดินแล้วจึงเดินสายจากขั้วต่อสายดินอีกเส้นหนึ่ง ไปยังขั้ว N ที่ระบุไว้ด้านล่าง ของเมนเบรคเกอร์ ส่วนสายที่ต่อกับหลักดิน (ground rod) ให้เดินไปเชื่อมต่อกับสายนิวทรัลที่ขั้วต่อหลักดิน ดังรูป
 

                 ทั้ง 2 กรณีให้ใช้หลักดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5/8 นิ้ว ความยาว 2.40 เมตร ตอกลงไปในดิน (มีความชื้นและดินแน่นพอควร) โดยการขุดหลุมกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร ลึก 30 เซนติเมตร เอาหลักดินตอกลงไปให้ปลายด้านบนอยู่สูงจากก้นหลุมประมาณ 15 เซนติเมตร แล้วต่อสายเข้ากับหลักดินโดยการใช้แคล้มป์รูปหัวใจ (Ground Clamp) ขันให้แน่น แล้วจึงใช้ดินกลบหลุม ให้เรียบร้อย
             

ขนาดของสายต่อฝากหลัก
     1. ให้ใช้ขนาดเดียวกับขนาดสายดินของระบบ (ตามตารางด้านบน)
     2. กรณีที่สายเฟสมีขนาดพื้นที่หน้าตัดโตกว่า 500 ตร.มม ให้ใช้ขนาดสายไม่ต่ำกว่า 12.5% ของพื้นที่หน้าตัดสายเฟส (สำหรับสายควบให้คิดพื้นที่หน้าตัดรวมของสายทุกเส้น)

เมนสวิตซ์ที่จ่ายไฟให้อาคาร 2 หลังขึ้นไป
     สถานประกอบการที่มีอาคารหลายหลังแต่มีเมนสวิตซ์จ่ายไฟชุดเดียว การต่อลงดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดดังนี้คือ
     1. อาคารเมน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของการต่อลงดินที่เมนสวิตซ์
     2. อาคารหลังอื่น ต้องมีหลักดินเป็นของตนเอง และต้องต่อลงดินเช่นเดียวกับเมนสวิตซ์ ยกเว้นอาคารหลังอื่นมีวงจรย่อย เพียงวงจรเดียวไม่ต้องมีหลักดินได้






ที่มา : http://www.srayaisomwittaya.ac.th/nectec/electrical/ground/sgr.html

ความคิดเห็น