ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเขียนเสาของอาคาร

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้               

                ในการเขียนแบบแปลนบ้าน ต้องเริ่มต้นด้วยการเขียนตำแหน่งของเสาเป็นลำดับแรก โดยหลังจากเราได้ปรับแต่งค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม AutoCAD เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มต้นวางตำแหน่งของเสาดังนี้
               1. ใช้คำสั่ง Layer สร้างเลเยอร์สำหรับเขียนเสา



                2.  คลิ๊ก new เพื่อสร้าง เลเยอร์ใหม่


                 3. เปลี่ยนชื่อเป็น เสา และค่าอื่นๆ ตามต้องการ และปิด


                 4. ที่ Layers เปลี่ยนมาเป็นเลเยอร์ เสา เพื่อใช้เขียนเสาต่อไป


                5. ใช้คำสั่ง Rectangle เขียนเสาด้วยขนาดตามต้องการ ในที่นี้เราจะใช้หน่วยของแบบแปลนบ้านเป็นเซนติเมตร ในการเขียนขนาดต่าง ๆ เท่ากับ 1 หน่วยของแบบ ถ้าเสามีขนาด 20 x 20 ซม.
                 โดยเขียนสี่เหลี่ยม ขนาด 20  x 20 ดังนี้
                 ( ในที่นี้แสดงว่าแบบที่เขียนนี้ เขียนด้วยมาตราส่วน 1 : 10  หากท่านต้องการ เขียนให้อยู่ในมาตราส่วน 1 : 1 ท่านต้องใช้ขนาด เป็นมิลลิเมตร คือต้องใช้ 10 คูณขนาดในแบบนี้ เช่น ขนาดเสาท่านต้องเขียนเป็น 200 x 200 )
                  คลิ๊กไอค่อน Rectangle  > คลิ๊กวางในชิ้นงาน > พิมพ์ 20 > พิมพ์เครื่องหมาย , > พิมพ์ 20 > กด Enter  ก็จะได้ เสา 1 เสา

                
                6. ใช้คำสั่ง Copy เพื่อคัดลอกเสาไปยังตำแหน่งต่างๆ ตามระยะของแบบแปลน
                     โดยมีวิธีการดังนี้
                     คลิ๊กที่ภาพเสา > คลิ๊กไอค่อน Copy > คลิ๊กจุดสแน็ปกลางเสา > ลากไปยังตำแหน่งต่าง ๆ > คลิ๊กวาง (ถ้าเสาอยู่ห่างกัน 4 เมตร เราจะใช้ตัวเลขเป็นตัวกำหนดระยะห่าง ซึ่งในที่นี้เราคิดเป็นเซนติเมตร ต่อหนึ่งหน่วย ดังนั้นหลังจากเราคลิ๊กที่จุดสแน็ปและลากออกมาให้เราพิมพ์ 400 > กด Enter > 800 > กด Enter เมื่อถึงเสาสุดท้ายให้กด  Enter อีกครั้ง จบการคัดลอก)


                 7. ใช้คำสั่ง Copy เพื่อคัดลอกเสาไปยังตำแหน่งต่างๆ ตามระยะของแบบแปลนจนครบตามแบบ 


                 ก็จะได้เสาเป็นหลักในการสร้างประตู เป็นลำดับถัดไป


             ในการเริ่มสร้าง ผู้เขียนแบบอาจเริ่มต้นโดยการวางเส้นโครงสร้างของอาคารก่อนก็ได้ หลังจากนั้นจึงวางเสาลงบนเส้นโครงสร้างตามระยะต่างๆ ของอาคาร โดยการวางให้จุดกึ่งกลางของเสาอยู่บนเส้นตัดกันของเส้นโครงสร้างในจุดต่างๆ ขึ้นอยู่กับความถนัดของผู้เขียน