ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ส่วนประกอบของแบบติดตั้งไฟฟ้า

จำนวนผู้เยี่ยมชมหน้านี้             

                  แบบติดตั้งระบบไฟฟ้ามีส่วนประกอบ ดังนี้

           1. แบบติดตั้ง คือ แบบแปลนของบ้าน หรืออาคารที่ติดตั้งไฟฟ้า โดยกำหนดสัญลักษณ์อุปกรณ์ทางไฟฟ้าทั้งหมดที่จะติดตั้งตามจุดต่าง ๆ ที่ต้องการติดตั้ง ภายในแบบแปลน

ภาพที่ 1 แสดงแบบแปลนติดตั้งไฟฟ้าภายในอาคาร



           2. แบบแสดงความหมายของสัญลักษณ์ที่เขียนในแบบแปลนทั้งหมด





ภาพที่ 2 แสดงสัญลักษณ์ที่เขียนในแบบ และความหมายของสัญลักษณ์


           3. รายละเอียดของอุปกรณ์ที่กำหนดให้ปฏิบัติในการติดตั้งที่ต้องการ เช่น ยี่ห้ออุปกรณ์ต่างๆ ระยะการติดตั้งอุปกรณ์ เป็นต้น ดังตัวอย่าง


รายละเอียดประกอบแบบ
           1. เต้ารับ ใช้ยี่ห้อ B-ticino
           2. หลอดฟลูออเรสเซนต์ ใช้ยี่ห้อ Philip หรือ Toshiba
           3. สายไฟใช้ยี่ห้อ Thai Yazaki หรือ Bangkok Cable
           4. เต้ารับติดสูงจากพื้น 30 เซนติเมตร

           4. ไดอะแกรมต่างๆ ของอุปกรณ์ควบคุม เช่น
                 4.1 One line Diagram  





ภาพที่ 3 แสดงไดอะแกรมเส้นเดียว ของแผงควบคุมไฟฟ้า

                   4.2 Riser Diagram  
                           คือ ไดอะแกรมที่แสดง การเดินสายเมนในแนวดิ่ง จะมีในอาคารที่มีจำนวนชั้นหลายชั้น


ภาพที่ 4 แสดงRiser Diagram ขอสายเมนไฟฟ้าเข้าอาคาร และไปชั้นต่างๆ


           5. ตารางโหลด

ภาพที่ 5 แสดงตารางโหลดจากการคำนวณค่าต่างๆ ที่ใช้ในการติดตั้งระบบควบคุม

           ตารางโหลด เป็นตารางที่เขียนขึ้นมาเพื่อบอกให้ผู้ติดตั้ง ติดตั้งไฟฟ้าอย่างไร เช่น รูปแบบการติดตั้ง ตีคลิป หรือเดินด้วยท่อ แผงควบคุมใช้อะไร ตัวป้องกันขนาดเท่าไร มีกี่ตัว แต่ละตัวควบคุมอะไรบ้าง โหลดที่ใช้แต่ละตัวมีขนาดเท่าไร ใช้สายขนาดเท่าไร ซึ่งค่าแต่ละค่าเป็นค่าที่ได้มาจากการคำนวณตามมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า ดังนั้นผู้ที่จะสามารถเขียนตารางโหลดได้ จะต้องศึกษากฎและมาตรฐานในการติดตั้งไฟฟ้า การคิดคำนวณค่าต่างๆ ตามหลักและวิธีการที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า


              ทั้งหมดที่กล่าวมา หากเป็นงานขนาดเล็กๆ อาจมีไม่ครบทุกรายการได้ ตามความสำคัญและจำเป็น และความต้องการของการออกแบบ  แต่ 2 รายการที่ขาดไม่ได้ คือ
               รายการที่ 1  แบบแปลนการติดตั้ง 
               รายการที่ 2  ความหมายของสัญลักษณ์ 
               เพราะเป็นแบบหลักที่จะทำให้ผู้ติดตั้งทราบว่า ผู้ออกแบบจะให้ติดตั้งอะไรที่จุดไหนของอาคาร เพราะผู้เขียนแบบและออกแบบแต่ละท่าน อาจให้ความหมายของสัญลักษณ์แตกต่างกันได้ หากไม่แสดงความหมายอาจทำให้ความหมายผิดเพี้ยนไปจากความต้องการของผู้ออกแบบได้

             ส่วนรายการอื่นๆ หากไม่มีในแบบ  ผู้ติดตั้งจะต้องติดตั้งให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดในการติดตั้งระบบไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้